การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม The Little Pig and Matrerial Game กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งโม่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

อัญรญา นวลดอกไม้
อัญรญา นวลดอกไม้
212 ผู้ชม

แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน สพป. พิจิตรเขต 1

ชื่อ – นามสกุลครู นางสาวอัญรญา  นวลดอกไม้

ชื่อแผนการเรียนรู้ การทำวัตถุโดยใช้สมบัติการดูดซับน้ำ

สาระวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนบ้านทุ่งโม่ง

ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม
           
เนื่องจากการการเรียนการสอน เรื่อง การทำวัตถุโดยใช้สมบัติการดูดซับน้ำ เป็นเนื้อหาที่นักเรียนจะต้องใช้ความจำคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดในการนำไปเป็นวัตถุต่าง ๆ และนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  เป็นวัยที่มีสมาธิและความสนใจยังน้อย  นักเรียนบางคนยังอ่านหนังสือไม่คล่อง  เมื่อต้องเรียนบทเรียนที่มีเนื้อหามากๆ นักเรียนก็จะไม่สนใจและไม่ตั้งใจเรียน  หลังจากที่ได้อบรบหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกม (Board  game)เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก(Active  Learning)สำหรับครูในศตวรรษที่ 21  จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1  และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กศส.) จึงได้นำแนวคิดเกี่ยวกับบอร์ดเกมมาศึกษาและสร้างบอร์ดเกมชื่อ The Little  Pig and  Matrerial   Game  นักเรียนเมื่อได้เรียนรู้ผ่านบอร์ดเกมมีความตื่นเต้น และอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้นนักเรียนที่อ่านไม่คล่องได้มีการฝึกทักษะการอ่านผ่านการ์ดเกม นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความสุข



ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น

          1.  นักเรียนสุ่มตัวเดิน โดยการโยนลูกเต๋า ผู้เล่นที่แต้มมากที่สุดได้สิทธิ์เลือกตัวเดินในเกมก่อน และเป็นผู้เล่นอันดับแรก แจกเหรียญผู้เล่นคนละ  10  เหรียญ

          2.  นักเรียนสุ่มหยิบการ์ดเสี่ยงทายวัสดุ จำนวน 4 ใบ  นักเรียนที่สุ่มเจอหมาป่า ให้หงายการ์ดในช่อง  เมื่อผู้เล่นคนอื่นเดินมาตกที่ช่องต้องเสียเหรียญตามจำนวนในการ์ด  แต่ถ้าผู้เล่นคนใดสุ่มได้การ์ดป้องกันให้เก็บไว้กับตนเองเพื่อใช้ในการป้องกันเมื่อตกไปในการ์ดหมาป่าผู้อื่น และจะสามารถป้องกันได้แค่ครั้งเดียว

          3.  เดินตัวละครตามตัวเลขที่ได้จากการโยนลูกเต๋า เมื่อตกที่ช่องการ์ดเสี่ยงทายวัสดุนักเรียนอ่านวัสดุในการ์ดให้นักเรียนในเกมฟัง และนักเรียนโยนลูกเต๋าคำถาม(แต้ม 1,2 ตอบคำถามที่ 1 แต้ม 3,4 ตอบคำถามที่ 2 แต้ม 5,6 ตอบคำถามที่ 3)     จะต้องตอบให้ถูกต้อง ตอบถูกจะได้เหรียญตามในการ์ดเสี่ยงทายวัสดุ ถ้าตอบผิดเสียเหรียญตามที่ระบุในช่องการ์ดสถานการ์ดบอร์ดเกม

( การ์ดคำถามมี 3 คำถามดังนี้  ดูดซับน้ำหรือไม่ดูดซับน้ำ,ประโยชน์ของวัสดุ,เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น โดยการ์ดคำถามสามารถวางสลับที่กันได้)

          4.   ครูอธิบายและเน้นย้ำกลไกเกม

          5. ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวเดินก่อนเล่น และเลือกได้ 1 ครั้งเท่านั้น

          6.  เกณฑ์ตัดสินผู้ชนะ ผู้เล่นที่สะสมเหรียญครบ 25  เหรียญ  เป็นผู้ชนะ


ประเด็นที่ 3  คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม  เเตกต่างจากการสอนปกติอย่างไรบ้าง

จากการจัดการเรียนรู้เเบบเดิม  นักเรียนเข้าใจเนื้อหาค่อนข้างยากเเละไม่ค่อยสนใจในการจัดการเรียนเเบบเดิม เพราะอาจเป็นเนื้อหาที่ต้องใช้ความจำ เมื่อนำการจัดการเรียนการสอนผ่านบอร์ดเกมมาใช้ในห้องเรียน  นักเรียนมีความตื่นเต้น มีความกระตือรือร้นในการเเรียน มีความตั้งใจเรียนเพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้เรียนจากเนื้อหามาใช้ในการเล่นบอร์ดเกม  นักเรียนตื่นเต้นที่เห็นบอร์ดเกม เห็นเหรียญ  การ์ดเกม  เเละต้องการเล่นบ่อย ๆ นักเรียนที่ยังอ่านหนังสือไม่คล่องก็อยากเล่น เพราะได้เล่นเกมเเละฝึกการอ่านไปด้วย เพราะบอร์ดเกมนอกจากได้ความรู้  นักเรียนยังได้รับความสนุกสนาน  ต้องการเป็นผู้ชนะในเกม มีความช่วยเหลือกันกับเพื่อน ๆ นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนผ่านบอร์ดเกมเป็นอย่างมาก



ประเด็นที่ 4  สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน

เด็กหญิงนภัสนันท์  ยอดหมวก  น้องเจ้าขา

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

          ชอบเรียนแบบเล่นเกมค่ะ ได้เล่นกับเพื่อน ๆ ได้เหรียญทอง ได้แข่งกับเพื่อน และได้ความรู้ด้วยค่ะ

-  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น

          อยากให้ครูทำเกมให้เล่นเยอะ ๆ  ค่ะ


เด็กชายฉัตรเพชร   เขตกัน  น้องเป็นต่อ

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

ชอบเล่นเกมนี้มากครับ เพราะว่าสนุกเเละได้ความรู้ด้วยครับ

การจัดการเรียนรู้

นวัตกรรมบอร์ดเกม

การเรียนรู้เชิงรุก

บทความอื่นๆ