การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม ราชาโจรสลัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านมาบกระเปา จังหวัดพิจิตร

พิทยาธร อนัญญาวงศ์
พิทยาธร อนัญญาวงศ์
95 ผู้ชม

ชื่อ – นามสกุลครู นายพิทยาธร อนัญญาวงค์

ชื่อแผนการเรียนรู้ ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายปัสสาวะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านมาบกระเปา


คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม 

คำอธิบายแผนการเรียนรู้  แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกความสำคัญของระบบย่อยอาหารได้อย่างถูกต้อง และ สามารถเรียงลำดับอวัยวะในระบบย่อยอาหารได้ถูกต้อง ตามลำดับของการเคลื่อนที่ของอาหารตั้งแต่ ปากจนถึงทวารหนัก

แรงบันดาลใจในการสร้างเกม เนื่องจากมีนักเรียนบางกลุ่มไม่ได้สนใจเนื้อหาที่ครูสอนมากนักอาจเป็นเพราะมีความเป็นวิชาการมากเกินไปรวมถึงนักเรียนส่วนใหญ่เรียกลำดับของอวัยวะในการย่อยอาหารผิดอยู่บ่อยๆ ครูจึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาอยู่สองประการคือ

1. ดึงความสนใจของนักเรียนที่ไม่สนใจเนื้อหา

2. ช่วยเน้นย้ำทบทวนนักเรียนด้วยคำถามบ่อยๆเพื่อให้นักเรียนจำได้

          จึงเป็นที่มาของบอร์ดเกมการศึกษา ชื่อว่า ราชาโจรสลัด เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่สนใจเนื้อที่เป็นวิชาการมากๆ ด้วยการแปรงเนื้อหาวิชาการออกมาอยู่ในรูปแบบเกม การ์ดเกม และยังสามารถแก้ปัญหานักเรียนเรียนลืมเนื้อหาได้ด้วยการให้นักเรียนเล่นเกมในเวลาว่าง เช่นพักกลางวัน คาบเรียนซ่อมเสริม เป็นต้น โดยที่ครูไม่ต้องไปนั่งเน้นย้ำให้แต่การ์ดเกมจะช่วยเน้นย้ำตัวนักเรียนทั้งหมดที่เล่นเกมและคนที่นั่งดูให้สามารถตอบได้ว่าคำถามนี้คืออวัยวะใดลำดับที่เท่าไหร่หรือมีหน้าที่อะไรไปในตัวรวมถึงช่วยดึกความสนใจของนักเรียนกลุ่มที่ไม่สนใจเนื้อหาวิชาการได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

  


วิธีการเล่นบอร์เกม ราชาโจรสลัด

1. ผู้เล่นแต่ละคนเลือกตัวละครที่ตนเองต้องการ

2. ผู้เล่นทุกคนทอยลูกเต๋าเพื่อกำหนดลำดับในการเล่น

3. ผู้เล่นทุกคนร่วมกันทอยลูกเต๋าแล้วนำผลการทอยมารวมกันเพื่อใช้กำหนดจำนวนลูกแก้วแห่งชีวิตในการทอยลูกเต๋าทั้งหมดในการเล่นเกมครั้งนั้น

4. ก่อนเริ่มเล่นผู้เล่นทุกคนจะได้รับเหรียญคนละ 3 เหรียญเท่ากัน

5. ผู้เล่นลำดับที่ 1 ทอยลูกเต๋าว่าได้จำนวนเท่าใดก็เดินตัวละครไปตามจำนวนที่ทอยได้แต่หากในตำแหน่งใดมีผู้เล่นอื่นตกอยู่ให้ข้ามไปเดินตำแหน่งถัดไปได้เลย

6. เมื่อไปตกยังตำแหน่งใดก็ตามสามารถเลือกได้ว่าจะตอบคำถามเพื่อเก็บสมบัติหรือไม่ก็ได้

7. หากเลือกตอบคำถามเพื่อเก็บสมบัติ ให้ผู้เล่นหยิบการ์ดคำถามตามช่องตำแหน่งที่ตัวละครอยู่ แล้วอ่านคำถามดังๆ แล้วตอบคำถาม และเปิดคำเฉลยในการ์ด หากตอบถูกจะได้รับ ขุมทรัพย์ และ หากตอบผิดจะได้รับ คำสาป ตามที่การ์ดกำหนด

8. หลังจากที่ผู้เล่นได้ตอบคำถามในตำแหน่งใดไปแล้ว ตำแหน่งนั้นจะไม่สามารถตอบซ้ำได้อีก

9. ผู้เล่นลำดับที่ 2 3 4 ตามลำดับปฏิบัติเช่นเดียวกันกับผู้เล่นดำดับที่ 1 จนครบแล้วจึงวนกลับมาให้ผู้เล่นคนแรกเล่นใหม่

10. ทุกครั้งที่มีการทอยลูกเต๋าผู้เล่นที่ทอยลูกเต๋าจะต้องหยิบเอาลูกแก้วแห่งชีวิตออกจากหีบ 1 ลูก

11. ผู้เล่นที่ตกอยู่ในตำแหน่ง ที่มีหัวกะโหลก ให้หยิบการ์ดเสี่ยงโชค ขึ้นมา 1 ใบแล้วปฏิบัติตามคำสั่งในการ์ดที่ตนเองหยิบได้

12. ผู้เล่นทุกคนสามารถเลือกได้ว่าจะกลับเมื่อใดก็ได้ตามใจของตนเอง

13. ผู้เล่นที่สามารถกลับขึ้นเรือได้ทันก่อนที่ลูกแก้วแห่งชีวิตจะหมดและมีสมบัติมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

14. ผู้เล่นใดที่กลับขึ้นเรือไม่ทันก่อนที่ลูกแก้วแห่งชีวิตจะหมดถือว่าตายในระหว่างตามหาสมบัติและแพ้ในเกมครั้งนั้นทันทีไม่ว่าจะสามารถเก็บสมบัติได้มาเพียงใดก็ตาม

15. ลูกแก้วแห่งชีวิตที่มีผู้ค้นพบจะสามารถให้กับผู้ค้นพบได้เท่านั้น ผู้ที่ต้องการต้องซื้อจากผู้ค้นพบก่อนถึงจะสามารถใช้ได้ 



          


คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม 

       คุณลักษณะของผู้เรียนก่อนการเล่นเกม สามารถแบ่งออกได้สองกลุ่มหลัก คือ

1. กลุ่มที่ไม่เก่งเนื้อหาที่เป็นวิชาการ จึงไม่กระตือรือร้นในการเรียน แอบชวนเพื่อพูดคุยระหว่าที่ครูสอนบ้าง เพราะเนื้อหายากรวมถึงยังต้องลำดับด้วยความเข้าใจ 2. กลุ่มที่จำลำดับอวัยวะไม่ได้เพราะความเข้าใจในหน้าที่ของอวัยวะแต่ละส่วนจึงรู้สึกว่าเนื้อหานั้นยากเกินความเข้าใจของตนเองขาดความมั่นใจในการตอบคำถาม

คุณลักษณะของผู้เรียนหลังการเล่นเกม

 นักเรียนกลุ่มที่ไม่กระตือรือร้นในการเรียนหันมาสนใจการเรียนมากขึ้นเพราะหากไม่ตั้งใจฟังจะไม่สามารถตอบคำถามเพื่อเก็บสมบัติในเกมได้2. นักเรียนที่ไม่สามารถจำลำดับอวัยวะการย่อยอาหารได้สามารถจำได้มากขึ้นด้วยการเล่นเกมและคำถามในการ์ดเกมการ์ดจะช่วยถามคำถามและมีคำเฉลยรวมถึงบอกหน้าที่ของอวัยวะให้หลังจากตอบคำถามแล้วเปิดดู ยิ่งเล่นบ่อย ดูเพื่อนนักเรียนเล่นบ่อยๆ จะสามารถจำได้โดยอัติโนมัติ และมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถามหน้าชั้นเรียนเพราะนักเรียนได้ทบทวนผ่านการเล่นบอร์ดเกมจนสามารถจดจำได้



บทสัมภาษณ์ผู้เรียน


บทความอื่นๆ