ภูมิศาสตร์(เครื่องมือทางภูมิศาสตร์)

ฐิติพร สุวรรณปักษิน
ฐิติพร สุวรรณปักษิน
207 ผู้ชม

แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน สพป. พิจิตรเขต 1

ชื่อ – นามสกุลครู  นางสาวฐิติพร  สุวรรณปักษิน  ชื่อแผนการเรียนรู้  ภูมิศาสตร์(เครื่องมือภูมิศาสตร์)

สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนวัดบ้านไร่

 ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม 
          คําอธิบายแผนการจัดการเรียนรู้

          การศึกษาที่มีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อนนั้น เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยสิ่งที่มีความท้าทาย สร้างสรรค์ จินตนาการ รวมทั้งโอกาสและสิ่งสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่น่าตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น ซึ่งโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนได้สัมผัสกับความเป็นจริงหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้นแต่นักเรียนสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และครู ซึ่งเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืน และเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดเวลา จนเป็นวัฒนธรรม

          จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทําขึ้น เป็นแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในการดําเนินชีวิตในหลายๆรูปแบบ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับ ตําแหน่ง ทําเล ที่ตั้ง การกระจาย ขอบเขต ความหนาแน่น และปรากฏการณ์ ต่างๆ ที่พบเจอ และรู้ว่าจะต้องจัดการปัญหาเหล่า นั้นได้อย่างไร  เนื่องจากแผนการจัดการเรียนรู้นี้มีวิธีคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างเป็นระบบ

          แรงบันดาลใจในการสร้างเกม เนื่องจากในปัจจุบัน เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีหลายหลายชนิด หลายประเภท ซึ่งแต่ละอย่างมีการใช้งานที่แตกต่างกัน จึงทำให้ครูได้คิดวิธีการสอนโดยใช้บอร์ดเกมเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงการการทำงานของเครื่องมือและวิธีการใช้งาน และยังสามารถนำไปกับชีวิตประจำวันของตนเองได้

   

   

ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น 

1.       ผู้เล่นจำนวน 4-5 คน

2.       ทอยลูกเต๋าหาผู้เล่นคนที่หนึ่ง สอง...... ตามลำดับ ใครได้แต้มสูงสุดเป็นผู้เล่นคนแรก

3.       เมื่อผู้เล่นคนแรก ทอยลูกเต๋าและเดินตามช่องแล้ว ให้ผู้เล่นบอกชื่อและการทำงานของช่องนั้น ซึ่งแต่ละช่องจะมีทั้งรูปภาพ และคำถาม รวมถึงการ์ดเสี่ยงดวง การ์ดท้าทาย ด้วย

4.       เมื่อตอบถูก จะได้คะแนน ตอบผิดไม่ได้คะแนน (สามารถนำเป็นเหรียญมาใช้เล่นได้)

5.       ระยะเวลาการเล่น 10-15 นาที

6.       ผู้เล่นคนไหนได้คะแนนมากสุด เป็นผู้ชนะ (หรือได้เหรียญมากสุดเป็นผู้ชนะ)




ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง

          คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติค่อนข้างมาก เพราะนักเรียนสนุกกับบอร์ดเกม ได้การทำงานเป็นทีม มีความสามัคคีและมีความคิดวิเคราะห์ตลอดเวลาในการเล่นบอร์ดเกม จึงทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการเล่นบอร์ดเกม


ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน 

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

          นักเรียนมีความเข้าใจในการเรียนเรื่องนี้มากขึ้น สามารถคิดอย่างเป็นระบบ ฝึกการสังเกต การจำและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อดีต่อการเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนสามารถนำบอร์ดเกมที่ได้ศึกษาและคิดขึ้นมา นำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ หรือ เรื่องอื่นๆได้

-  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น

          1. เปลี่ยนจากคะแนนหรือเหรียญเป็นขนมได้ไหมคะ

          2. ขอให้ครูทำขึ้นมาอีกหลายๆเรื่อง หลายๆวิชา


บทความอื่นๆ