การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม What is it ? : Material

พรนิภา บุญญา
พรนิภา บุญญา
200 ผู้ชม

แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน สพป. พิจิตรเขต 1

ชื่อ – นามสกุลครู    นางสาวพรนิภา    บุญญา     ชื่อแผนการเรียนรู้  วัสดุในชีวิตประจำวัน

สาระวิชา    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี             ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4             โรงเรียน   วัดสระประทุม (มิตรภาพที่ 54)          

     

ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม (แนบภาพถ่ายบอร์ดเกมที่ได้รับจากกสศ. ร่วมกับนักเรียนในห้อง)

          การเรียนจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาและการบรรยายให้ผู้เรียนรับรู้เพียงอย่างเดียว (Passive Learning) ผู้เรียนไม่สามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์เองได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ จากการศึกษากฎแห่งการเรียนรู้ของธอร์นไดด์ (Thorndike Theory) ครูผู้สอนมีความสนใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความพร้อม มีความสนใจในการเรียนรู้ อยากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศการที่ท้าทายและสนุกสนาน สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เนื้อหาที่สอดแทรกอยู่ในบอร์ดเกม 

          การจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม What is it?: Material ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับจาก กสศ. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองมากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และเกิดองค์ความรู้ที่ถาวร จากการที่ผู้เรียนได้แสดงออกถึงศักยภาพและบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของเกม กระตุ้นให้ผู้เรียนประสานความร่วมมือกับผู้อื่นในกรณีที่ต้องพึ่งพาอาศัยหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แสวงหาวิธีการจบเกมหรือได้รับรางวัลจากเกมตามเป้าหมายของเกมนั้น

            

ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม/ ขั้นตอนการเล่น (แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)

วิธีการเล่น

1. นักเรียนจับคู่ คน หรือแบ่งเป็น 2 ทีม 

2. นักเรียนนำแท่นใส่การ์ดของแต่ละสีออกมา ใส่การ์ดวัสดุ (What is it?) ของแต่ละกลุ่มให้ครบทุกช่อง จากนั้นแต่ละฝ่ายจั่วการ์ดวัสดุสำหรับทาย (What is it? Choose)



3. นักเรียนตกลงกติการ่วมกัน เพื่อหาผู้เล่นที่ได้เล่นก่อน

4. นักเรียนฝ่ายที่ได้เล่นก่อน จั่วการ์ดรางวัล (Gift Card) ใบ เพื่อตอบคำถาม (ทั้ง ฝ่าย วางเหรียญเพื่อเดิมพันตามที่การ์ดกำหนด) 




-        กรณีตอบ “ถูกต้อง” ได้เหรียญทั้งหมดที่วางเดิมพัน และได้รับสิทธิ์ในการถามคำถามเกี่ยวกับการ์ดวัสดุ What is it? Chooseของฝ่ายตรงข้ามได้ คำถาม 

               1) หากฝ่ายตรงข้ามตอบว่า “ใช่” ได้เล่นต่อ 

               2) หากฝ่ายตรงข้ามตอบ “ไม่ใช่” ฝ่ายตรงข้ามจะเป็นฝ่ายได้เล่นแทน

-        กรณีตอบ “ผิด” จะเสียเหรียญทั้งหมดที่วางเดิมพันให้ฝ่ายตรงข้าม และไม่ได้รับสิทธิ์ในการถามคำถามเกี่ยวกับการ์ดวัสดุ What is it? Choose ของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งฝ่ายตรงข้ามจะเป็นฝ่ายได้เล่นแทน

    5. นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันถามคำถามที่เกี่ยวกับวัสดุที่อีกฝ่ายนึงจับ ฝ่ายตอบจะตอบได้แค่ใช่หรือไม่ใช่ และฝ่ายที่ตอบจะต้องไม่โกหก 

-        หากคำตอบว่า "ใช่"  ฝ่ายที่ถามจะพลิกป้ายวัสดุของตัวเองที่ไม่เกี่ยวกับคำถามนั้น

-        หากคำตอบคือ "ไม่ใช่" ฝ่ายที่ถามจะพลิกป้ายวัสดุของตัวเองที่เกี่ยวกับคำถามนั้น

    6. นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าในแต่ละเทิร์นจะ "ถาม" หรือว่าจะ "ทาย" 

-      การถามทำเพื่อให้ตัวเลือกลดลง  

-      การทายสามารถทายได้เลย 

                       1) กรณีทายก่อน แล้วทาย “ผิด” (เสีย เหรียญ ให้กับฝ่ายตรงข้าม) และเล่นต่อ

                       2) กรณีทายก่อน แล้วทาย “ถูก” (ได้รับ เหรียญ จากฝ่ายตรงข้าม) จะสามารถจบเกมได้เร็วกว่าฝ่ายตรงข้ามและชนะรอบนั้นไปในที่สุด

การยุติการเล่น

          นักเรียนทายถูกจะได้หยิบการ์ดรางวัล (Gift Card) เพื่อตอบคำถามเก็บเหรียญรางวัลจบรอบนึง โดยจะกำหนดให้ชนะกี่รอบถึงจะสิ้นสุดเกม หรือเก็บเหรียญคะแนนตามที่กำหนด หรือฝ่ายไหนได้เหรียญมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ หรือเหรียญหมดก่อนแพ้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามสถานการณ์        

การคิดคะแนนหลังจบเกม

          คนที่ตอบได้ก่อนเป็นผู้ชนะ/นับคะแนนจากเหรียญที่นักเรียนได้คนที่ได้เหรียญมากที่สุดเป็นผู้ชนะ



ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง (แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม) 

          จากการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม What is it : Material ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับจาก กสศ. ช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงศักยภาพและบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของเกม ได้ฝึกใช้ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เนื้อหาที่สอดแทรกอยู่ในบอร์ดเกม กระตุ้นให้ผู้เรียนประสานความร่วมมือกับผู้อื่นในกรณีที่ต้องพึ่งพาอาศัยหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แสวงหาวิธีการจบเกมหรือได้รับรางวัลจากเกมตามเป้าหมายของเกมนั้น ๆ ให้ได้ 

ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน (พร้อมรูปถ่ายเดี่ยวนักเรียน)

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

-  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น 



          จากการเรียนผ่านบอร์ดเกม What is it ? : Material เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้โดยไม่ต้องนั่งอ่าน หรือให้ครูสอนย้ำ ๆ สามารถจำแนกประเภทของวัสดุ เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของวัสดุได้มากขึ้น ได้สื่อสารกับเพื่อนจากการตั้งคำถาม วิเคราะห์คำตอบของเพื่อน เพื่อตัดตัวเลือกให้ลดลง เกิดความเข้าใจ และ

จำคำศัพท์ เช่น โลหะ เซรามิก พอลิเมอร์ ได้อย่างรวดเร็วและจดจำได้ดีกว่าเรียนแบบปกติ 

          สิ่งที่อยากให้ครูเพิ่มในบอร์ดเกม What is it ? : Material คือ อยากให้มีกติกาการเล่น หลาย ๆ แบบ ถ้าเหรียญทอง (Gold Coin) อยากให้กู้ยืมกองกลางได้








           จากการเรียนผ่านบอร์ดเกม What is it ? : Material เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับวัสดุในชีวิตประจำวัน ทั้งประเภทของวัสดุทั้ง ประเภท และสมบัติของวัสดุแต่ละประเภท และได้คิดคำถามเอง และร่วมกันตอบและเฉลยกับเพื่อน ๆ มีการวางเดิมพันเหรียญทอง (Gold Coin) ได้ความรู้และสนุกสนาน ไม่เบื่อ และสามารถเล่นด้วยกันเองกับเพื่อนได้เรื่อย ๆ

           สิ่งที่อยากให้ครูเพิ่มในบอร์ดเกม What is it ? : Material คือ อยากให้ครูเพิ่มเติมคำถามของการ์ดรางวัล (Gift Card) ให้มีหลากหลายชุดมากขึ้น เพื่อใช้สับเปลี่ยนในการเล่นบอร์ดเกม


การจัดการเรียนรู้

นวัตกรรมบอร์ดเกม

การเรียนรู้เชิงรุก

Active Learning

บทความอื่นๆ