นางสาวติณรัตนติกานต์
ศรสุวรรณ์ ชื่อแผนการเรียนรู้ คำศัพท์ที่มีตัวการันต์
สาระวิชาภาษาไทย
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองหัวปลวก
ประเด็นที่ 1
คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม
คำอธิบายแผนการเรียนรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงและการบอกความหมายของคำง่ายๆรวมทั้งคำที่ประกอบด้วยตัวการันต์
เรียนรู้การใช้ตัวการันต์ คำศัพท์ที่มีตัวการันต์ และรอ่านออกเสียง คำที่มีตัวการันต์
แรงบันดาลใจในการสร้างเกม
เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้เรื่องคำศัพท์ที่มีตัวการันต์ในระดับชั้น ป.3 นักเรียนบางคนไม่ทราบว่าคำศัพท์ดังกล่าวใช้ตัวอะไรการันต์ และอ่านออกเสียงอย่างไร ครูจึงสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกมที่ครูสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหา
1.ครูแนะนำบอร์ดเกม คำนี้อะไรการันต์ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและเข้าใจวิธีการเรียนรู้เนื้อหาภายในเกม
2.นักเรียนแบ่งกลุ่มจำนวน
4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยเลือกจับการ์ดตัวละครประจำตัว
และสมาชิกกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนอุปกรณ์การเล่นภายในเกม ได้แก่ โมเดลตัวละคร ลูกเต๋า
หมากเดินเกมเหรียญคะแนน การ์ดตัวละคร การ์ดคำศัพท์ที่มีตัวการันต์
การ์ดอักษรการันต์ และการ์ดพิเศษ
3.วิธีการใช้งานบอร์ดเกม
คำนี้อะไรการันต์
3.1 นักเรียนสุ่มการ์ดตัวละคร
เพื่อสุ่มเลือกตัวละครคนละ 1 ตัว
(การ์ดตัวละครมี 5 ตัวละคร ได้แก่ คามาโดะ ทันจิโร่,คามาโดะ เนะซึโกะ,ฮาชิบิระ อิโนสึเกะ,อากาสึมะ เซ็นนิตสึ,สึยูริ คานาโอะ)
3.2 สมาชิกแจกเหรียญตั้งต้น คนละ 10 เหรียญ
3.3 ผู้เล่นช่วยกันวางการ์ดคำศัพท์ที่มีตัวการันต์บนกระดานบอร์ดเกม ทั้งหมด 16 ช่อง
3.4 ผู้เล่นจั่วการ์ดอักษรการันต์ แจกคนละ 3 ใบ
3.5 ผู้เล่นนำการ์ดพิเศษวางกองกลาง 12 ใบ
ตัวอย่าง
ด้านหน้า-ด้านหลัง การ์ดพิเศษ
3.6
วางการ์ดพิเศษ,การ์ดตัวการันต์ที่เหลือ
และเหรียญที่เหลือไว้กองกลางกลางกระดานบอร์ดเกม
3.7
ทอยลูกเต๋าเพื่อลำดับการเล่น ใครแต้มมากที่สุด เดินเป็นลำดับแรก
3.8
ผู้เล่นลำดับ 1
เดินโดยทอยลูกเต๋าถ้าสามารถเติมอักษรการันต์ลงในคำศัพท์ได้ถูกต้องสมบรูณ์
มีโอกาสเปิดการ์ดพิเศษ 1 ครั้ง
และได้รับเหรียญตามระดับความยากของคำศัพท์ที่ปรากฏบนการ์ด สามารถเก็บการ์ดโจทย์กับการ์ดคำตอบของตัวเองออกมาได้เลย
โดยจะไม่นำมานับคะแนนเมื่อหมดเวลาใครแยกไว้ และได้สิทธิจั่วการ์ดคำศัพท์ที่มีการันต์ไปใส่เพิ่ม
เรียกว่าจั่วการ์ดโจทย์ไปใส่เพิ่มนั่นเอง ถ้าตาใครเดิน
ทอยตกได้คำใดคำหนึ่งแล้วไม่มีอักษรการันต์นั้นลง ให้บังคับจั่วอักษรการันต์ที่อยู่กองกลางเพิ่ม
1 ใบ แล้วจ่ายเหรียญ ตาม เหรียญที่ปรากฏบนการ์ดคำศัพท์ และตอนหมดเวลา ให้ผู้เล่น
นับจำนวนเหรียญทั้งหมดที่ปรากฏบนการ์ดในมือตัวเอง จ่ายคืนกองกลาง หลังจากนั้นนับเหรียญที่เหลือที่ตนเองได้
ใครเหลือเหรียญเยอะสุดเป็นผู้ชนะ ยกตัวอย่างเช่น นาย เอ ทอยแต้มได้ ตกคำศัพท์
คำว่า สวนสัต... นาย เอต้องดูการ์ดตัวเองว่ามี การ์ดอักษรการันต์ ว์ หรือไม่ ถ้ามี
ก็ลงการ์ด และสังเกตเหรียญที่อยู่มุมการ์ดว่ามีกี่เหรียญ
ให้เราดึงเหรียญจากกองกลางมาตามจำนวนนั้น และมีสิทธิพิเศษ จั่วการ์ดพิเศษ 1 ใบ
และทำตามการ์ดนั้นบอก แต่ถ้านายเอ ไม่มีการ์ดอักษรการันต์ ว์ ที่จะลงได้
นายเอต้องจั่วการ์ดอักษรการันต์จากกองกลางมา 1 ใบ 1 ครั้ง
และจ่ายเหรียญของตนเองตามจำนวนเหรียญที่ปรากฏบนคำศัพท์บนกระดาน หากจั่วมาได้อักษร
ว์ ที่ลงได้ถูกต้องพอดี ก็รับเหรียญคืนและมีสิทธิจั่วการ์ดพิเศษ 1 ใบ หากจั่วมา 1 ครั้งแล้วยังไม่ได้
ก็ให้นายเอข้ามตานั้นไปหากข้อนั้นผู้เล่นไม่สามารถลงตัวอักษรนั้นได้ให้ข้ามตา
3.9.กำหนดเวลาเล่นรอบละ
30 นาที
3.10.เมื่อหมดเวลานับเหรียญใครเหรียญมากที่สุดชนะ
4. ครูนำอธิบายถึงกลไกเกม
4.1 ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวละครก่อนเล่น
และเลือกได้ 1 ครั้งเท่านั้น
4.2 เมื่อเล่นครบเวลาที่กำหนด ผู้เล่นที่มีเหรียญเหลือสะสมสูงที่สุดเป็นผู้ชนะ
4.3 ผู้เล่นที่ไม่เหลือเหรียญ จะถูกปรับแพ้เกมในทันที
5. นักเรียนร่วมกันใช้งานบอร์ดเกม
คำนี้อะไรการันต์ ตามเวลาที่กำหนด เช่น 5, 10, 15
นาที
6. ในการเล่นเกมเพื่อให้นักเรียนมีทักษะการร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน
ควรมีการจัดทีม อย่างน้อย 2 ทีม ในการแข่งขันในเกม
7. ให้นักเรียนอ่านออกเสียงทุกครั้งที่เดินตกในช่องบอร์ดเกม และในการเปิดการ์ดและใช้การ์ดป้องกัน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ความหมายและคำศัพท์ที่มีตัวการันต์
ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง
1.
นักเรียนให้ความสนใจในการเรียนรู้แบบมีบอร์ดเกมมากกว่าการเรียนรู้แบบบรรยาย
2.
นักเรียนฝึกทักษะการอ่านได้อย่างชัดเจนเวลาเล่นเกม
3. สอดแทรกคุณธรรมความซื่อสัตย์ในการเล่นเกม
ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง
สัมภาษณ์เด็กชายจิรายุ ตันเตจะ
- เพิ่มคำที่ยากขึ้น
สัมภาษณ์เด็กหญิงมนัสนันท์ ชูเชิด
- ได้ความรู้เรื่องตัวการันต์มากขึ้นได้เล่นเกมสนุกสนานร่วมกับเพื่อน ๆ อยาก เปลี่ยนธีมตัวละคร เป็นธีมอื่นมากขึ้น