ขยะเพิ่มมูลค่า รักษาสิ่งแวดล้อม รร.บ้านทุ่งศาลา

ณัฐศรี ชูช่วย
ณัฐศรี ชูช่วย
322 ผู้ชม

ชื่อ – นามสกุล นางณัฐศรี ชูช่วย

ชื่อแผนการเรียนรู้ ขยะเพิ่มมูลค่า รักษาสิ่งแวดล้อม

สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา

แบบสรุปการพัฒนาห้องเรียนจากหลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก (IP2)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

ประเด็นที่ 1  คำอธิบายแผนการเรียนรู้

นักเรียนรู้จักวิธีคัดขยะซึ่งสามารถนำไปคัดแยกขยะและนำมาเพิ่มมูลค่าให้กับขยะในโรงเรียนสามารถ ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ประเด็นที่ 2 สรุปรายละเอียดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน

          ขั้นตอนที่ 1: การประเมินระดับการคิดผู้เรียน

1.1 ทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนรายบุคคล

1.2 ครูใช้คำถามกระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียน เรื่อง วิธีรักษาความสะอาดและคัดแยกขยะ 

1.3 นักเรียนดูวิดีทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย และให้นักเรียนอภิปรายถึงสิ่งที่ได้ดูจากวีดิทัศน์

1.4  ให้นักเรียนดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และครูเชื่อมโยงความรู้ให้นักเรียนเห็นถึงประโยชน์ของการแยกขยะ 

1.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มเกี่ยวกับประโยชน์ของการแยกขยะ ที่ได้รับมอบหมายในกระดาษบรู๊ฟ 

1.6 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายกลุ่มของตนเองหน้าชั้นเรียน และวิพากษ์ร่วมกัน

1.7 นักเรียนปรับแก้ไข/เพิ่มเติมผลงานตามที่วิพากษ์ให้สมบูรณ์ ตัวแทนกลุ่มนำผลงาน ของกลุ่มที่เติมเต็มสมบูรณ์แล้วไปติดข้างห้องเพื่อให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

1.8 นักเรียนร่วมกันสรุปในหัวข้อ “รักษาความสะอาดและคัดแยกขยะ”

        1.9 ครูมอบหมายชิ้นงานให้นักเรียนทุกคนไปสำรวจขยะในบริเวณสถานที่ต่างๆ ในโรงเรียน

ขั้นตอนที่ 2: การกระตุ้นความตระหนักและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ 

2.1 นักเรียนศึกษาและสังเกตขยะภายในโรงเรียน จากนั้นร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขยะที่พบแล้วตอบคำถาม

2.2 นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ไปสำรวจพบ ว่าภายในโรงเรียน มีขยะอะไรบ้าง และแต่ละอย่าง จัดอยู่ในขยะประเภทใด

2.3 นักเรียนดูคลิปวีดิโอ เรื่องประเภทของขยะ ซึ่งจะอธิบายถึงความหมายและการแยกขยะตามสีของถังขยะแต่ละประเภท

2.4 นักเรียนร่วมกันแสดงว่าคิดเห็นว่า ขยะแต่ละชนิด ควรทิ้งในถังขยะสีอะไร

2.5 นักเรียนแต่ละคนทำแผนผังความคิด เรื่องประเภทของขยะ

2.6 ตรวจใบงานแผนผังความคิดของนักเรียน

2.7 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปความรู้ที่ได้เรียน 

ขั้นตอนที่ 3: วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน

3.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 รักษาความสะอาดโดยการคัดแยกขยะ

3.2 ครูสนทนาและสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่าจากสิ่งที่ทิ้งไป และเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภาย ในโรงเรียน โดยใช้คำถามนำว่า “เราจะเพิ่มมูลค่าให้กับขยะที่มีอยู่ภายในโรงเรียน โดยใช้วิธีการใดได้บ้าง เพื่อให้สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่สะอาดและน่าอยู่”  และกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น ที่แสดงถึงความหลากหลาย (ความรู้) 

* เหตุผล ครูใช้กิจกรรมนี้ เพื่อสำรวจความพร้อมของนักเรียน โดยให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ และเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้

3.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดประเด็นการเรียนรู้ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้เขียน FiLa mapping   ตามหัวข้อดังนี้

Fact                        ที่มา “ขยะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน”

Learning Issue     ทำอย่างไรจึงจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ

Innovative Ideas  การสร้างสื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์/รณรงค์ ให้อนุรักษ์ทรัพยากร ,ประดิษฐ์ของเล่น ของใช้จากขยะ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

Action Plan         แผนการดำเนินงาน

3.4 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายกลุ่มหน้าชั้นเรียน และวิพากษ์ร่วมกัน

3.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติม โดยแนะนำผู้เชี่ยวชาญที่นักเรียนสามารถสอบถามหาความรู้ในการสร้างนวัตกรรมได้และเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เพื่อสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผนไว้

ขั้นตอนที่ 4: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง

4.1 นักเรียนแบ่งกลุ่ม

4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ และคำปรึกษา

4.3 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอนวัตกรรมที่สร้างขึ้น 

4.4 ผู้เชี่ยวชาญ ครู และเพื่อนนักเรียน ร่วมวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งที่ออกแบบ

4.5 นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำ

4.6 นำสิ่งประดิษฐ์ที่ได้ ไปทดลองใช้ และรับการตรวจสอบประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ

4.7 นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำ

4.8 นักเรียนร่วมกันนำเสนอผลงานในรูปของการรายงานและตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพ 

ขั้นตอนที่ 5: ผู้เรียนประเมินตนเอง

5.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 สิ่งประดิษฐ์มีค่าจากขยะ  

5.2 นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเรียนที่ผ่านมาทั้งหมดว่าได้ความรู้อะไรบ้าง และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นมากน้อยเพียงใด

5.3 นักเรียนชมคลิปการทำกระเป๋าจากถุงนม

5.4 ครูและนักเรียนร่วมกันเชื่อมโยงผลการจากทำโครงงานกับสถานการณ์โลกกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5.5 ตัวแทนนักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน

5.6 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป

       ขั้นตอนที่ 6: คิดต่อยอดองค์ความรู้  

6.1 ทดสอบหลังเรียนของนักเรียนรายบุคคล

6.2 นักเรียนต่อยอดโดยการปรับปรุงชิ้นงานเพิ่มเติม เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต

บทความอื่นๆ