การเรียนการสอนด้วยโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก
(Phenomenal
Based Learning : IP2 )
ชื่อบทความ
สิ่งประดิษฐ์จากขยะพลาสติก
สาระสังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โดย
นางสาวณัฐณิชา เจะเหล่า
โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ
สพป
ตรังเขต 2
ชุมชนเกาะลิบง
เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาขยะทะเล
ส่งผลต่อกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว
และมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม
โดยขยะส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์จากแผ่นดินลงสู่ทะเล
และบางส่วนล่องลอยมากับกระแสน้ำในช่วงฤดูมรสุม
ซึ่งทุกคนตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต นักเรียนจึงคิดค้นหาวิธีการในการลดปริมาณและเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ โดยการนำเศษขยะ หรือเศษวัสดุในท้องถิ่นมาสร้างชิ้นงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะลิบง
และเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน
ขั้นตอนที่
1: การประเมินระดับการคิดผู้เรียน
1.1
ทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนรายบุคคล
1.2 ครูใช้กิจกรรมบัตรภาพหรรษาคำถามกระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียน
เรื่อง ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ได้แก่
- ลักษณะภูมิประเทศในประเทศไทยมีแบบใดบ้าง
- ลักษณะภูมิอากาศในประเทศไทยมีแบบใดบ้าง
-
จังหวัดตรังมีลักษณะภูมิประเทศแบบใด
- ลักษณะภูมิประเทศกับภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
1.3 นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ
7 คน โดยการสุ่มจากการนับเลข จากนั้นให้คิดท่าทางประจำกลุ่มประกอบเพลง โอ้ทะเลแสนงามและแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม
ได้แก่ ประธาน กรรมการ เลขานุการ
1.4
นักเรียนดูภาพถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ของพื้นที่บ้านเกาะลิบง ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ซึ่งเป็นพื้นที่ในท้องถิ่นของนักเรียน และร่วมกันอภิปรายสิ่งแวดล้อมทางกายภาพชุมชน
ในหัวข้อ “ท่องเมืองแห่งความหวังลิบงรุ่งเรือง”
เพื่อหาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นบ้านเกาะลิบง โดยมีประเด็น ดังนี้
- ลักษณะภูมิประเทศ
- ลักษณะภูมิอากาศ
- ป่าไม้หรือพืชพรรณที่พบ
- สัตว์ที่พบ
1.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มเกี่ยวกับสถานที่ต่าง
ๆ ของพื้นที่บ้านเกาะลิบงที่ได้รับมอบหมาย ในกระดาษปรู๊ฟ
(ชิ้นงานที่ 1 เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพในจังหวัด) โดยมีประเด็น ดังนี้
- ลักษณะภูมิประเทศ
- ลักษณะภูมิอากาศ
- ป่าไม้หรือพืชพรรณที่พบ
- สัตว์ที่พบ
- แนวทางการอนุรักษ์
1.6
ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายกลุ่มของตนเองหน้าชั้นเรียน และวิพากษ์ร่วมกัน
1.7
นักเรียนปรับแก้ไข/เพิ่มเติมผลงานตามที่วิพากษ์ให้สมบูรณ์ ตัวแทนกลุ่มนำผลงานของกลุ่มที่เติมเต็มสมบูรณ์แล้วไปติดข้างห้องเพื่อให้เพื่อนๆ
ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
1.8
นักเรียนร่วมกันสรุปในหัวข้อ “ท่องเมืองแห่งความหวังลิบงรุ่งเรือง” โดยครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดผู้เรียน
- ลักษณะกายภาพของเกาะลิบงส่วนใหญ่เป็นแบบใด
-
จุดเด่นของบ้านเกาะลิบง คืออะไร
1.9 ครูมอบหมายให้นักเรียนทุกคนไปท่องเที่ยวบ้านเกาะลิบงโดยการศึกษาสถานที่จริงหรือศึกษาจากการสรุปงานของแต่ละกลุ่มที่ติดไว้ในห้องเรียน
ขั้นตอนที่ 2 : การคิดประเด็นการเรียนรู้จากแรงบันดาลใจ
2.1 นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องแผนที่ตั้งหมู่บ้านเกาะลิบงโดยนักเรียนศึกษาและสังเกต
แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพของเกาะลิบง
จากนั้นร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่ของหมู่บ้านเกาะลิบงโดยใช้แผนที่ตามประเด็นดังนี้
- ลักษณะแผนที่ของหมู่บ้านเกาะลิบงเป็นอย่างไร
- ภูมิประเทศของหมู่บ้านเกาะลิบงเป็นอย่างไร
2.2 นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับลักษณะของหมู่บ้านเกาะลิบงดังนี้
- ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของหมู่บ้านเกาะลิบงเป็นอย่างไร
- ความสัมพันธ์ของภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติและการประกอบอาชีพ
2.3 นักเรียนดูคลิปปัญหาขยะในทะเลกับสิ่งแวดล้อม https://youtu.be/85sYURN_b5I
2.4 นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องทะเลไทย
2.5 นักเรียนร่วมกันวิพากษ์หัวข้อดังนี้
“ในฐานะที่เราเป็นลูกหลานชาวบ้านในพื้นที่เกาะลิบง
นักเรียนจะสามารถช่วยให้เกิดความยั่งยืนทางทะเลได้อย่างไร
2.6 นักเรียนดูคลิปเส้นทางขยะทะเล
https://youtu.be/0n8FJaMxjrg
2.7 นักเรียนร่วมกันวิพากษ์หัวข้อดังนี้
“ในพื้นที่บ้านเกาะลิบง ประเด็นเร่งด่วนที่เราคิดว่าต้องรีบแก้ไขคืออะไร”
2.8 นักเรียนทำใบงานที่
1 ฟูเฟื่องธรรมชาติเกาะลิบง
2.9 นักเรียนและครูร่วมกันสรุป
2.10 แบบสำรวจ
ขั้นตอนที่ 3: วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน
3.1 นักเรียนบอกใบ้ทายคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิธีลดปริมาณขยะในชุมชน โดใช้ หลัก
3Rs,Reuse Reduce, Recycle
3.2
แบ่งกลุ่มนักเรียนจากการนับเลขจำนวนเต็ม 5
รวมกลุ่มนักเรียนโดยใช้เพลงประกอบ เพลง ทิ้งขยะให้ถูกที่
3.3
ครูแจกปากกาเคมีและกระดาษบรู๊ฟให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
จากนั้นตัวแทนกลุ่มนำเสนอปัญหาที่พบและนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนเกาะลิบงลงในกระดาษบรู๊ฟ
กลุ่มละ 10 นาที
3.4 นักเรียนและครู ร่วมกันสรุปการสร้างนวัตกรรมของแต่ละกลุ่มเพื่อดำเนินการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ 4:
เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง
ชั่วโมงที่ 1-2
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่
3 พลังคนรุ่นใหม่ใส่ใจความสะอาด
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผนไว้
โดยมีครูคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษา
3. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอนวัตกรรมที่สร้างขึ้น
กลุ่มละ 5 นาที
4. ผู้เชี่ยวชาญ ครู
และเพื่อนนักเรียน ร่วมวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งที่ออกแบบ
ชั่วโมงที่ 3-4
1. นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำ
2. นำสิ่งประดิษฐ์ที่ได้
ไปทดลองใช้ และรับการตรวจสอบประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
3.
นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำ
ชั่วโมงที่ 5
1. นักเรียนร่วมกันนำเสนอผลงานในรูปของการรายงานและตรวจสอบ
วิเคราะห์คุณภาพ กลุ่มละ 5 นาที
ขั้นตอนที่ 5:
ผู้เรียนประเมินตนเอง
1.
นักเรียนแบ่งกลุ่มตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ชาวบาตูรวมพลังรักษ์ลิบง
2.
นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเรียนการสอนที่ผ่านมาทั้งหมดว่าได้ความรู้อะไรบ้าง และ
สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นมากน้อยเพียงใด
3.
นักเรียนชมคลิปหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง https://youtu.be/fPvTTMYdeQk และคลิป SGDs https://www.youtube.com/watch?v=qbdJIheGgXU
4.
ครูและนักเรียนร่วมกันเชื่อมโยงผลการจากทำโครงงานกับสถานการณ์โลกกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(SDGs) และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5.
นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชิ้นงานที่ 2 รวมบาตูถอดความคิดพิชิตขยะ ตัวแทนนักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
6.
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป
ขั้นตอนที่
6: คิดต่อยอดองค์ความรู้
- นักเรียนนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น
โดยการจัดนิทรรศการในหัวข้อ “สิ่งประดิษฐ์จากขยะพลาสติก”
- ทดสอบหลังเรียนของนักเรียนรายบุคคล