"ห้องเรียนธนาคารปูม้า" การเรียนรู้บนฐานชุมชนด้วยกระบวนการ (Active Learning) โดยครูหนิง ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ ครูผู้สอนในสาระวิชาสังคม โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก (Phenomenal Based Learning)

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ
ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ
1,344 ผู้ชม

         ครูภณิดา ชูช่วยสุวรรณ  ครูผู้สอนในรายวิชาสังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแหลมไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 

โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก (Phenomenal Based Learning)

         

 

         การเรียนการสอนด้วยหลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก (Phenomenal Based Learning) คือการใช้ประสบการณ์ หรือสถานการณ์จากชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนเข้ามาเติมเต็มความรู้กับนักเรียน นอกจากนั้นยังเกิดการบูรณาการองค์ความรู้กับครูวิชาอื่นที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพ ภาษาไทย คณิตศาสตร์   ทำให้เกิดการประสานความร่วมมือเพื่อเป้าหมายการเรียนการสอนไปด้วยกัน

ปัจจัยที่สำคัญในการทำให้ ห้องเรียนธนาคารปูม้า สำเร็จเกิดขึ้นจากปัจจัยที่สำคัญ ประการแรก คือ นักเรียน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ในตัวทุกคน สิ่งนี้กระตุ้นให้นักเรียนเป็นนักคิดค้น ค้นหาคำตอบ ค้นหาวิธีการ เพื่อแก้ปัญหา ครูไม่มีการปิดกั้นกระบวนการคิด ให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกัน กระบวนการนี้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ประการที่สอง ห้องเรียนธนาคารปูม้านี้ จะสำเร็จไม่ได้เลย ศาสตร์ความรู้เฉพาะทางนี้หากขาดความร่วมมือจากชุมชนที่เป็นผู้มอบศาสตร์ความรู้วิชาท้องทะเลเพื่อการเรียนรู้วิถีชีวิตปู ประการที่สาม บุคลากรในโรงเรียนที่ร่วมมือกันบูรณาการสาระวิชาการเพื่อเติมเต็ม ซึ่งไม่สามารถขาดความร่วมมือของใครคนใดคนหนึ่งได้ ต้องประสานการเรียนรู้ไปด้วยกัน”   ซึ่งมีเป้าหมายการเรียนรู้นั้น คือต้องการให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรในชุมชน นักเรียนสามารถเรียนรู้ว่าอะไรสำคัญ จำเป็นสำหรับชีวิตและชุมชน โดยที่สามารถเชิญชวนคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในสิ่งที่นักเรียนคิดและทำได้


  

กระบวนการจัดการเรียนการสอ

 

แผนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  

เริ่มต้นด้วยการลดบทบาทของครูเอง ด้วยการพูดการอธิบาย ให้น้อยลงเปลี่ยนตนเองเป็นครูโค้ช เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนพูด ได้นำเสนอ ได้แสดงความคิดเห็น 

 

ให้นักเรียนคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและสร้างนวัตกรรมได้ด้วยกระบวนการ IP2  Innovation = ให้นักเรียนคิดค้นนวัตกรรม  Project-based Learning = การเรียนรู้ผ่านโครงงานเป็นฐาน และ Phenomenon-based learning = การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในการเรียนรู้  การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ 

 

Phenomenon-based learning + Community Innovation Project : CIP โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (นวัตกรรมของมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต) โดย CIP มีกระบวนการทั้งหมด 6 ขั้นตอน และได้นำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นองค์ความรู้ของโรงเรียนบ้านแหลมไทรที่ชื่อว่า หน่วยการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพในจังหวัด โดยประกอบด้วย 6 แผน 

 

แผนที่ 1 แหลมไทรอะไรดี ? 

ประเมินทักษะการคิดของผู้เรียน

นักเรียนดูภาพถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ของพื้นที่บ้านแหลมไทร และบ้านทุ่งทอง ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ในท้องถิ่นของนักเรียน และร่วมกันอภิปรายสิ่งแวดล้อมทางกายภาพชุมชน ในหัวข้อ “แหลมไทร อะไรดี” เพื่อหาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นบ้านแหลมไทร โดยมีประเด็น ดังนี้  ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ  ป่าไม้หรือพืชพรรณที่พบ และสัตว์ที่พบ


     

แผนที่ 2 ตามมาจะพาไปล่องทะเล

การคิดประเด็นการเรียนรู้จากแรงบันดาลใจ 

ครูหนิง พานักเรียนไปสำรวจบริบทชุมชน บ้านแหลมไทร และ บ้านทุ่งทอง ที่มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพเหมือนกันคืออยู่ในแหลมติดทะเลฝั่งอันดามัน ประกอบอาชีพประมงท้องถิ่น เพื่อให้เข้าใจลักษณะของโลกด้วยแผนที่ชุมชนดูภูมิศาสตร์เพื่อเชื่อมเข้าสู่วิชาสังคมศาสตร์ ถึงแม้นักเรียนจะอยู่ในชุมชนที่เป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน แต่เด็กบางคนไม่เคยเดินสำรวจชายหาดในชุมชนของตน ครูหนิงจึงพาลงสำรวจพื้นที่ท่าเทียบเรือแหลมไทร ดูธนาคารสาหร่ายพวงองุ่นของผู้ใหญ่บ้าน เพื่อสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน 

 

เข้าสู่ขั้นคบคิด 

·        อะไรคือของดีของแหลมไทร - ปูม้า

·        ปัญหาที่นักเรียนพบระหว่างสำรวจพื้นที่ - ปูม้าลดจำนวนลง


      

แผนที่ 3 หนูน้อยนักอนุรักษ์ พิทักษ์พันธุ์ปูม้า 

ร่วมมือกันเขียนแผน

นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่าอะไรที่เป็นปัญหาของชุมชน เพื่อนำมาวางแผนแก้ปัญหาตามวิธีการของตนเอง โดยขั้นตอนนี้ใช้เครื่องมือ FILA Map เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การออกแบบการแก้ปัญหา

 

F = Fact ข้อเท็จจริง เป็นที่มาของปัญหาซึ่งทุกคนพบว่า จำนวนปูม้าลดลง

I = Innovation นวัตกรรม ที่จะทำอย่างไรให้ปูม้าเพิ่มจำนวน 

L = Learning ความรู้และทักษะที่ต้องใช้สร้างนวัตกรรม 

A = Action Plan การวางแผนกระบวนการทำงาน

 

    

แผนที่ 4 คิดไม่ OUT เราทำได้ 

การจัดการเรียนรู้

เป็นการจัดการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ บูรณาการรายวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และการงานอาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการประดิษฐ์นวัตกรรมพลังงานโซลาเซลล์ ที่จะใช้แก้ปัญหาต้นทุนพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยความร่วมมือของครู 2 ท่าน 1) ครูฐิตินันท์ อ่อนรู้ที่ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 2) ครูกนกวรรณ นาศร กลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา มาช่วยเติมเต็ม 

 

ผลที่ได้นักเรียนเกิดกระบวนการทำงาน การจัดการ และแบ่งหน้าที่ 

1.     ชุดอนุบาลพันธุ์ปูม้าพลังงานแสงอาทิตย์

2.     ดูแลธนาคารปูม้าของชุมชน 

3.     นักอนุบาลปูม้า โดยภาชนะจากวัสดุในชุมชน เช่นกระป๋อง 

4.     ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ปูเพื่อเผยแพร่ให้ชุมชน


      

แผนที่ 5 ถอดบทเรียน เปลี่ยนชีวิต

ผู้เรียนประเมินตนเอง 

โดยใช้วิธีการถอดบทเรียนตามหลัก SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน

หลังจากที่กระบวนการทำงานแล้ว จึงให้นักเรียนประเมินตนเองว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้และลงปฏิบัติใน หลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก (Phenomenal Based Learning: IP2) มีประโยชน์ต่อโลกและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจาก 17 เป้าหมาย ข้อใดบ้าง

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ - เมื่อปริมาณปูม้าเพิ่มขึ้นทำให้ชาวบ้านจับปูม้าได้มากขึ้น

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน  - ปูม้าเพิ่มขึ้นแหล่งอาหารมากขึ้น

เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึง - ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาด 

เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน - ลดการบริโภคปูม้าไข่ นำปูม้าไข่มาอนุบาลเพื่อเพิ่มปริมาณปูกลับคืนสู่ท้องทะเล 


 

แผนที่ 6 สู่ชุมชน อุดมสุข 

เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ชวนคิดต่อยอด

 

นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนำเผยแพร่กับคนในชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ให้ทุกคนมองเห็นปัญหาร่วมกัน เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดการหวงแหน พร้อมใจร่วมมือกันแก้ปัญหาเพื่อรักษาทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน


 

ประสบการณ์โลก

นวัตกรรม

การเรียนรู้เชิงรุก

บทความอื่นๆ