แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน
สพป. พิจิตรเขต 1
ชื่อ
– นามสกุลครู นางสาวเจนจิรา อรกุล
ชื่อแผนการเรียนรู้ แรงแม่เหล็ก
สาระวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสากเหล็ก
ประเด็นที่ 1
คำอธิบายแผนการเรียนรู้/ แรงบันดาลใจในการสร้างเกม
(แนบภาพถ่ายบอร์ดเกมที่ได้รับจาก กสศ.
ร่วมกับนักเรียนในห้อง)
จากปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนตามปกติทําให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่กระตือรือร้น
เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนเรื่องแรงแม่เหล็ก
เป็นเรื่องเกี่ยวกับแรงที่เกิดขึ้นระหว่างแม่เหล็กกับสารแม่เหล็ก
หรือแม่เหล็กกับแม่เหล็ก ซึ่งแม่เหล็กสามารถดึงดูดสารแม่เหล็กได้ ผู้เรียนเกิดความสับสนในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่แม่เหล็กดูดได้หรือไม่ได้
จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกม (Board Game) เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สําหรับครูในศตวรรษที่ 21 ทําให้มีแรงบันดาลใจในการจัดทําสื่อการเรียนการสอนโดยการสร้างบอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลวิธีการออกแบบบอร์ดเกม (Board Game) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงได้มีแนวคิดที่จัดทำบอร์ดเกมบิงโกแม่เหล็ก เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถแยกแยะวัตถุที่แม่เหล็กดูดและไม่ดูดได้ดียิ่งขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านการเล่นเกม มีความสนุกสนาน ท้าทาย ทําให้นักเรียนมีความกระตือรืนร้นที่อยากจะเรียนรู้ไปพร้อมกับการเล่นเกม สามารถเพิ่มความสนใจในวิชาที่เรียนให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งนักเรียนยังสามารถนำเกมเหล่านี้ไปทบทวนในเวลาว่างได้
ประเด็นที่
2 วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น
(แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)
วิธีการเล่นเกม
1. นักเรียนแต่ละคนจะได้รับแผ่นบิงโก
1 แผ่น
2. แจกเบี้ยวาง และเหรียญรางวัล
3. นักเรียนแข่งขันการกดกริ่ง
คนที่กดกริ่งเป็นคนแรกเป็นผู้หยิบการ์ด แล้วตอบประเภทของวัสดุนั้นว่า
แม่เหล็กดูดหรือไม่ดูด
ถ้าตอบถูกจะได้เหรียญรางวัลสีเขียว 1 เหรียญ (เหรียญสีเขียว
= 10 คะแนน)
ถ้าตอบผิดจะได้เหรียญสีแดง
1 เหรียญ (เหรียญสีแดง = -5 คะแนน)
4. นักเรียนดูในแผ่นบิงโกของนักเรียนว่ามีวัสดุนั้นหรือไม่
ถ้ามีให้นำเบี้ยมาวางทับวัสดุนั้น
5. ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนบิงโก ผู้ที่บิงโกจะได้รับเหรียญสีส้ม 1 เหรียญ (เหรียญสีส้ม = 50 คะแนน)
6. เล่นเกมไปเรื่อย ๆ
จนหมดเวลา ถ้าหมดเวลาระหว่างการเล่น ให้ยุติการเล่นทันที
(เวลาในการเล่นเกม 20 นาที)
7. เมื่อหมดเวลาเล่นเกมให้นำคะแนนที่ตอบคำถามได้และคะแนนที่บิงโกมารวมกัน
ผู้เล่นที่มีคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
ประเด็นที่
3
คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม
แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไร
บ้าง
(แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดเกมร่วมด้วยทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียนแตกต่างจากการเรียนแบบปกติ นักเรียนให้ความสนใจ ไม่เคร่งเครียดในการเรียน มีความผ่อนคลายในขณะที่เล่น ใฝ่เรียนรู้มากกว่าปกติเนื่องจากมีความท้าทายของเกม สนุกสนาน และยังมีการแข่งขัน เข้ามากระตุ้น การใช้บอร์ดเกม ในการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียน พยายามใฝ่เรียนรู้มากยิ่งขึ้นเพื่อหาคำตอบให้ชนะเกม มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ได้ทั้งความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปพร้อมๆกัน ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ นักเรียนสนใจและตั้งใจที่จะเรียนมากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่
4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน
(พร้อมรูปถ่ายเดี่ยวนักเรียน)
สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง คนที่ 1
- การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทําให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
หลังจากการเล่นเกมทำให้เข้าใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้นค่ะ สามารถจดจำเกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ที่แม่เหล็กดูดได้และไม่ได้ เป็นเกมที่สนุกมากค่ะ ช่วยให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด สนุกสนาน สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ทำให้อยากเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นค่ะ ชอบวิชาวิทยาศาสตร์ค่ะ
-
อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
อยากให้คุณครูเพิ่มกติกาความท้าทายในเกมเพื่อให้เกมสนุกมากขึ้น และอยากให้วิชาอื่น ๆ มีเกมให้เล่นแบบนี้ค่ะ ชอบมากๆค่ะ
สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง คนที่ 2
- การเรียนผ่านบอร์ดเกม
ทําให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเรา
อย่างไร
สนุกดีค่ะ
เวลาเล่นตื่นเต้นมากค่ะ ทำให้เข้าใจเรื่องแรงแม่เหล็กมากขึ้น รู้ว่าวัตถุแต่ละอย่างทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง
และอะไรบ้างที่แม่เหล็กดูดและไม่ดูด
เกมนี้ทำให้หนูอยากที่จะเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ชอบมากๆค่ะ
-
อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
อยากให้มีของรางวัลหรือขนมก็ได้ค่ะ
สำหรับผู้ที่ชนะเกม และอยากให้คุณครูทำเกมในเรื่องอื่น ๆ อีกนะคะ