การพัฒนาบอร์ดเกม Phichit Trip เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ผ่านการเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดวังเรือน โดย ครูวิมลรัตน์ เพ็งสร้อย ครูชำนาญการพิเศษ

วิมลรัตน์ เพ็งสร้อย
วิมลรัตน์ เพ็งสร้อย
206 ผู้ชม

ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม

               ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2561, หน้า 112) ดังนั้นในการปรับปรุงตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) จึงมีการกำหนด สาระการเรียนรู้ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ และเพิ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีซึ่งมีการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหา  ที่พบในชีวิตจริงด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งในระดับการศึกษาภาคบังคับต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถเลือกข้อมูลเพื่อใช้เหตุผลแก้ปัญหาด้วยทักษะการคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของทุกอาชีพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560

            เนื่องจาก ในปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดวังเรือนประสบปัญหาสถานการณ์โควิดเช่นเดียวกับโรงเรียนอื่นๆ โดยในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Coding ซึ่งจะต้องทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน และสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอยู่ภายในโรงเรียนจึงทำให้ผู้จัดทำไม่ทราบแนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติจริง ส่งผลให้ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test :RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ลดลงอย่างมากในปี 2564 และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในปี 2565 ดังแผนภูมิ แสดงการเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (Reading Test : RT)

 

ภาพที่ 1  ภาพการทำกิจกรรม Unplugged coding ร่วมกันภายในทีมของนักเรียน


- วิเคราะห์เกี่ยวกับความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียน

            จากการสัมภาษณ์นักเรียนพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ชอบทำกิจกรรมร่วมกันเป็นทีม และสนใจกิจกรรมที่มีการแข่งขันหรือมีกระบวนการของเกมการศึกษามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเช่น การสุ่มตัวละครเพื่อเล่นเกม การใช้การ์ดสถานการณ์มาเป็นสื่อให้นักเรียนได้แก้ปัญหา แทนโจทย์ปัญหา หรือคำถามในใบงาน

ภาพที่ 2  ภาพการร่วมกันแก้ปัญหาของนักเรียนจากสถานการณ์ที่ได้รับจากการสุ่มตัวละคร


ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น  (แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)

1.    คุณครูแนะนำ และอธิบาย สถานการณ์จำลองภายในเกม Phichit Trip (ท่องเที่ยวเมืองพิจิตรโดยให้นักเรียนพา สมาชิกในครอบครัวของตนเอง ขึ้นเรือข้ามแม่น้ำพิจิตร เพื่อหลบหนีจากจระเข้พญาชาละวันไปให้ถึงอีกท่าน้ำอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำพิจิตรให้ได้ โดยนักเรียนจะได้เขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่งจำนวน ระดับ ระดับละ ชั่วโมง


ภาพที่ 3 เกม Phichit Trip (ท่องเที่ยวเมืองพิจิตร) Level 1

2.    นักเรียนแต่ละทีมร่วมกันแบ่งหน้าที่ ตัวแทนกลุ่มใช้การ์ดคำสั่งเขียนคำสั่งลองบนกระดานคำสั่ง

3.    นักเรียนที่มีหน้าที่ควบคุมเรือทำการทดสอบคำสั่งที่เพื่อนเขียนให้จากกระดานคำสั่ง ซึ่งหากพบข้อผิดพลาดไม่สามารถควบคุมเรือไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้ ให้นักเรียนที่ทำหน้าที่เขียนคำสั่ง วางลำดับการทำงานของโปรแกรมใหม่อีกครั้งจนโปรแกรมสามารถทำงานได้สมบูรณ์


วีดิทัศน์การจัดการเรียนรู้ 

ภาพที่ 4 ภาพวีดิทัศน์กิจกรรม Phichit Trip (ท่องเที่ยวเมืองพิจิตร) ในเว็บไซต์ Youtube 

วิดีทัศน์ กิจกรรม Phichit Trip (ท่องเที่ยวเมืองพิจิตร)  เวลา 4 ชั่วโมง

ที่ลิงก์  https://youtu.be/V_uezn5nlnk


ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง (แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม) 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ และครูได้เปลี่ยนวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนจะเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านบอร์ดเกม Phichit Trip เกิดทักษะการสื่อสาร และการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะและให้ความช่วยเหลือให้ได้เกิดการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง มีผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้

ผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ Coding

1. ผลที่เกิดกับผู้เรียน

ภาพที่ แผนภูมิ ผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรม Phichit Trip (ท่องเที่ยวเมืองพิจิตร)

จากการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้พบว่าในแต่ละด้านมีผลดังต่อไปนี้

-        ความรู้ (K)

            จากผลการประเมินพบว่านักเรียนมีความรู้ในระดับ ดีมาก จำนวน 15 คน ระดับ ดี จำนวน 5 คน คิดเป็น นักเรียนร้อยละ 100 สามารถอ่าน บอกความหมายคำ และสามารถแสดงลำดับขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมในระดับ ดีขึ้นไปได้ โดยวิธีการ ครูสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนการสื่อสารของนักเรียนจากแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานและแบบประเมินการใช้งานเกมภาษาพาเพลิน และเกมท่องเที่ยวเมืองพิจิตร 

-        ทักษะกระบวนการ (P)

จากผลการประเมินพบว่านักเรียนมีทักษะการเขียนโปรแกรมในระดับ ดีมาก จำนวน 16 คน ระดับ ดี จำนวน 4 คน คิดเป็น  นักเรียนร้อยละ 100 เกิดทักษะการแก้ปัญหาจากการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดยใช้สื่อเกมท่องเที่ยวเมืองพิจิตรได้ ในระดับ ดีขึ้นไป โดยใช้การประเมินการใช้งานเกมท่องเที่ยวเมืองพิจิตร 

-        เจตคติ (A)

จากผลการประเมินพบว่านักเรียนมีเจตคติในระดับ ดีมาก จำนวน 17 คน ระดับ ดี จำนวน 3 คน คิดเป็นนักเรียนร้อยละ 100 มีความตั้งใจและช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมได้ จากการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนตั้งใจและช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในระดับ ดีขึ้นไป โดยใช้ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน

2. ความพึงพอใจในผลการจัดการเรียนรู้ Coding ของนักเรียน และผู้ปกครอง

ภาพที่ แผนภูมิ แสดงความพึงพอใจการจัดกิจกรรม Phichit Trip (ท่องเที่ยวเมืองพิจิตร)

จากผลการประเมินแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรม พบว่านักเรียนชาย ร้อยละ 87.5 นักเรียนหญิง ร้อยละ 91.67 และผู้ปกครอง ร้อยละ 100 มีความพึงพอใจในระดับ มากขึ้นไป และจากการอ่านข้อคิดเห็นของผู้ปกครองและนักเรียนพบว่า “นักเรียนมีความต้องการให้เพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้น มีความต้องการให้มีอุปสรรคในการเขียนคำสั่งเคลื่อนย้ายเรือ” เนื่องจาก กิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทุกคน และได้เข้าถีงสื่อ เกม Phichit Trip (ท่องเที่ยวเมืองพิจิตร) ได้อย่างเต็มความรู้และความสามารถ ดังตัวอย่างแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรม

CS Unplugged

นวัตกรรมบอร์ดเกม

บอร์ดเกม

Active Learning

บทความอื่นๆ