ประเด็นที่
1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้
/ แรงบันดาลใจในการสร้างเกม (แนบภาพถ่ายบอร์ดเกมที่ได้รับจาก
กสศ. ร่วมกับนักเรียนในห้อง)
แรงบันดาลใจ
ปัจจุบันสื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญต่อจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อระหว่างครูกับผู้เรียน ซึ่งครูต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้เพื่อผู้เรียนสามารถตอบจุดประสงค์หรือตัวชี้วัดของแต่รายวิชา นั้นคือ สื่อ/นวัตกรรมบอร์ดเกม
ผู้ออกแบบนั้นได้ประสบปัญหานักเรียนไม่ทราบประวัติของจังหวัดพิจิตร และไม่ทราบว่าจังหวัดพิจิตรมีอำเภออะไรบ้าง แต่ละอำเภอมีแหล่งประวัติศาสตร์ ประเพณีอะไรบ้าง ครูผู้สอนจึงคิดสื่อนวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักจังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นจังหวัดในภูมิลำเนาตนเอง
จากการนำบอร์ดเกมมาใช้ผู้ออกได้พบว่า สื่อหรือนวัตกรรมบอร์ดเป็นสื่อกลางระหว่างครูกับนักเรียนได้เป็นอย่างดีซึ่งในขณะที่นักเรียนเล่นบอร์ดเกมนั้น นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ เพลิดเพลินไปกับการเล่น แม้จะเป็นเนื้อหาที่ยากต่อการเข้าใจ หรือเป็นเนื้อหาที่ทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อ แต่สิ่งที่ครูได้สอนได้สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนจะนำบอร์ดมาเล่นซ้ำในช่วงเวลาพัก ซ่อมเสริม บอร์ดเกมจึงถือว่าเป็นสื่อนวัตกรรมที่มีชีวิต ไม่ใช่สื่อที่วางอยู่กับที่เฉยๆเพื่อประดับห้องอีกต่อไป
ประเด็นที่ 2 วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น (แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)
1.จำนวนผู้เล่น 2-4 คน ต่อ 1 กลุ่ม สับการ์ดทั้ง 72 ใบ แจกการ์ดคนละ 5 ใบ จากนั้นวางการ์ดที่เหลือไว้บนบอร์ดเกม
2.ผู้เล่นโอน้อยออกหรือเป่ายิงชุบเพื่อเลือกผู้เล่นคนแรก ผู้เล่นที่อยู่ทางซ้ายมือจะเป็นผู้เล่นลำดับที่ 2, 3, 4 ตามลำดับ
3. ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องวางการ์ดบนมือที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ ประเพณีและแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสัมพันธ์กันกับแต่ละอำเภอบนบอร์ดเกม สามารถลงการ์ดกี่ใบก็ได้แต่ต้องอยู่ในอำเภอเดียวกันเท่านั้น และลงการ์ดลงในช่องอำเภอที่เลือก แล้วจั่วการ์ดบนบอร์ดเกมให้บนมือมีจำนวน 5 ใบเสมอ
4. หากลงการ์ดมากกว่าช่องด้านซ้ายมือที่ใกล้ที่สุดได้ สามารถยึดการ์ดแถวทางด้านซ้ายมือที่ใกล้ที่สุด 1 แถว
5. ผู้เล่นที่สามารถยึดการ์ดในกระดานมาได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง (แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม)
ผู้เรียนมีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นในการเรียนโดยใช้บอร์ดเกม มีจิตสาธารณะช่วยเหลือเพื่อนในการทำกิจกรรมบอร์ดเกม ช่วยกันอ่านข้อความบนการ์ด นอกจากได้ความรู้แล้ว ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน สนุกกับเกมและเพลิดเพลินกับการเรียนรู้
ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน (พร้อมรูปถ่ายเดี่ยวนักเรียน)
เด็กชายถิรวัฒน์ คงเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- การเรียนผ่านบอร์ดเกม
ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
“ทำให้รู้จักสถานที่สำคัญในจังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นบ้านเกิด
การเล่นเกมทำให้การเรียนสนุก ไม่น่าเบื่อ”
-
อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
“อยากให้ข้อความบนการ์ดมีน้อยลง”
เด็กหญิงอภิณห์พร
เพ็ชรพิจิตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- การเรียนผ่านบอร์ดเกม
ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
“ชอบการเรียนโดยใช้บอร์ดเกม
เพราะทำให้จำสถานที่สำคัญในพิจิตรได้”
-
อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
“อยากให้มีการ์ดพิเศษ
เช่น ห้ามเพื่อนลงการ์ด”