การจัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ขวัญเรือน ป้อมมอญ
ขวัญเรือน ป้อมมอญ
321 ผู้ชม

ชื่อ - นามสกุลครู.....นางสาวขวัญเรือน   ป้อมมอญ.....

ชื่อแผนการเรียนรู้....สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต........

สาระวิชา........วิทยาศาสตร์........  ระดับชั้น......ประถมศึกษาปีที่ 2....

โรงเรียน......บ้านหนองน้ำเขียว.....

 

ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม (แนบภาพถ่ายบอร์ดเกมที่ได้รับจาก กสศ. ร่วมกับนักเรียนในห้อง)

ด้วยช่วงชั้นของนักเรียน (ช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3) เป็นวัยที่สนใจสิ่งรอบข้าง อยากรู้ อยากลอง อยากลงมือปฏิบัติ เรียนปนเล่น  ครูผู้สนจึงเล็งเห็นในส่วนนี้ว่า การจัดกระบวนการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดนั้น ต้องจัดตามช่วงวัยและความสนใจของนักเรียน โดยเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนนั้นต้องสอดคล้องเนื้อหาที่นักเรียนต้องเรียนรู้ ซึ่งถ้าจัดกระบวนการเรียนการสอนเฉพาะในห้องเรียน หรือใช้หนังสือเป็นหลักนั้น นักเรียนเกิดการเรียนรู้ก็จริง แต่จะขาดแรงจูงใจในการฝึกหาคำตอบด้วยตนเอง เกิดการคิดนอกกรอบและต่อยอดความคิดไม่ได้เท่าที่ควร  ครูผู้สอนจึงนำบอร์ดเกมมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอน นอกจาก เกมจะทำให้ผู้เล่นได้สนุกสนานและเพลิดเพลิน ด้วยวิธีการนำเสนอในรูปแบบต่างๆกันไป แต่ก็ไม่ได้มีเพียงแค่ความสนุกอย่างเดียวเท่านั้น ในหลายๆเกมได้สอดแทรกอะไรหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้เล่นไว้อีกด้วย  (ที่มา : สกู๊ปพิเศษ This is game)  เช่นเดียวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดเกม สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนจาก  กสศ.”   นอกจากนักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเล่นแล้ว นักเรียนยังเกิดการเรียนรู้จากการจดจำ ฝึกคิด ฝึกแก้สถานการณ์จริง และทำภารกิจ สิ่งเหล่านี้นั้นล้วนช่วยให้นักเรียนมีจุดมุ่งหมายและทิศทาง เกิดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแก่นักเรียนในการทำงานและสามารถช่วยให้นักเรียนเห็นความเกี่ยวข้องของเนื้อหาที่พวกเขากำลังเรียนรู้

          

ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น  (แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)

วิธีการเล่น

1. เริ่มเกมโดยเสี่ยงทายโยนลูกเต๋า ลูก ผู้เล่นที่ได้แต้มมากที่สุด เริ่มเดินก่อน

2. โยนลูกเต๋าและเดินตามแต้มที่ได้  จนครบผู้เล่น

3. ผู้เล่นคนที่ตกพื้นที่ต่าง ๆ ทำภารกิจตามพื้นที่นั้น ๆ

4. ตกช่อง Speacial (พิเศษ) และช่อง Bomb (ระเบิด) ตอบถูกจะได้เหรียญ ตอบผิดจะต้องเสียเหรียญ

หมายเหตุ ผู้เล่นสามารถใช้การ์ดป้องกันได้ตลอดทั้งเกม แต่สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ยุติการเล่น เมื่อหมดเวลา หรือ เมื่อมีผู้เล่นคนใดได้เหรียญถึง 50 เหรียญ

                                  

ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง (แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม)

เมื่อนักเรียน เรียนโดยใช้บอร์ดเกม สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก  กสศ.”   พบว่านอกจากนักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเล่นแล้ว นักเรียนยังเกิดการเรียนรู้จากการจดจำ ฝึกคิด ฝึกแก้สถานการณ์จริง ได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและประเมินได้จากการสังเกตของครูผู้สอน การทำแบบทดสอบ  การตอบคำถามในห้องเรียน

                                                            

ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน (พร้อมรูปถ่ายเดี่ยวนักเรียน)

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

   นักเรียนที่ให้การสัมภาษณ์

   1. เด็กหญิงกัญญพัชร    ใส้เสือ

          ทำให้หนูเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น  ตอบและบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต  นอกจากจำในแต่หนังสือ และยังสนุกในการเล่นเกมด้วย

   2. เด็กชายธัญวัฒน์   ปุกฟั่น

          ทำให้หนูเรียนรู้และสนุก ฝึกการวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้ตัวเองมีเหรียญเยอะ ๆ และเป็นผู้ชนะ ทำให้หนูจำได้ดียิ่งขึ้น เปรียบเทียบและจำแนกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

-  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น

   นักเรียนที่ให้การสัมภาษณ์

   1. เด็กหญิงกัญญพัชร    ใส้เสือ

          อยากได้ที่มีสถานเยอะ ๆ มีตัวละครเยอะ ๆ เพิ่มความท้าทายให้มากขึ้น

   2. เด็กชายธัญวัฒน์   ปุกฟั่น

          อยากให้คุณครูขวัญทำตัวละครและสถานการณ์โดยมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วย จะได้ฝึกคำศัพท์

                                                                               

การจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้

การเรียนรู้เชิงรุก

ประถมศึกษาปีที่2

บทความอื่นๆ