บอร์ดเกมเหรียญนี้..ที่รัก

กิติศักดิ์ ปัญโญ
กิติศักดิ์ ปัญโญ
188 ผู้ชม

ชื่อ – นามสกุล นายกิติศักดิ์ ปัญโญ
ชื่อแผนการเรียนรู้ การออกแบบโปรแกรมอย่างง่ายกับบอร์ดเกม
สาระวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนวัดคลองโนน


ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม

            เนื่องจากในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตัวชี้วัดที่ ป.4/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข สาระการเรียนรู้ การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย เช่น การออกแบบโดยใช้ storyboard หรือการออกแบบอัลกอริทึม เป็นพื้นฐานสู่การเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม 

            ซึ่งการออกแบบอัลกอริทึมได้นั้น ผู้เรียนจะต้องเข้าใจกระบวนการทำงานของสิ่งนั้นเป็นอย่างดี ถึงจะทำให้ผู้เรียนสามารถออกแบบอัลกอริทึมได้ 

            ก่อนหน้าที่จะได้ทำบอร์ดเกมเหรียญนี้ที่รักนั้น ผู้สอนได้ให้นักเรียนออกแบบอัลกอริทึมจากกิจกรรมรอบตัว เช่น การซักผ้า , การทำกับข้าว เป็นต้น แต่เนื่องจากผู้เรียนไม่ได้สัมผัสกิจกรรม ณ ขณะนั้น จึงยากสำหรับผู้เรียนที่ออกแบบอัลกอริทึมลงบนใบงานได้ในทันที อีกทั้งยังยากมากสำหรับการออกแบบอัลกอริทึมที่มีต้องมีเงื่อนไข

            ผู้สอนจึงได้จัดทำบอร์ดเกมเหรียญนี้ที่รักขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสกิจกรรมที่จะนำมาออกแบบอัลกอริทึมร่วมกัน มีภาพกิจกรรมที่เห็นเป็นภาพเดียวกัน และมีเงื่อนไขเดียวกันกับเพื่อนร่วมชั้น อีกทั้งตัวเกมถูกออกแบบให้มีการวางแผนการใช้เงิน การใช้บัตรคำสั่ง เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการเล่นเกม ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด และมีการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการเขียนโปรแกรมในแผนการเรียนรู้ต่อๆไป


ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น

วิธีการเล่นเกม

1.   ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องเดินไปตามช่องแล้วเก็บเหรียญบนกระดาน เพื่อสะสมเงินให้ได้มากที่สุด

2.   ผู้เล่นที่เดินไปตกช่องภูเขา จะต้องหยุดเล่นทันที ตา

3.   เมื่อวางบัตรคำสั่งเสร็จ จะต้องจ่ายเงินก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ตัวละครเดินไปตามช่องที่บัตรคำสั่งโปรแกรมไว้ โดยบัตรคำสั่ง ใบ มีมูลค่า บาท

4.   เกมจะยุติเมื่อเหรียญหมดกระดาน หรือเหลือผู้เล่นเพียงคนเดียวที่ยังมีเงินเหลือ

5.   เมื่อยุติผู้เล่นที่มีเงินมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

6.   ผู้เล่นจะใช้การ์ดพิเศษได้ เมื่อถึงตาตัวเองก่อนจะวางบัตรคำสั่ง โดยการ์ดพิเศษมีราคา บาท ซึ่งการ์ดพิเศษมีอยู่ ประเภท คือ การ์ดนางฟ้า และการ์ดปีศาจ

6.1    การ์ดนางฟ้า ประกอบด้วย

1)   การ์ดหนังสือ คุณสมบัติ ผู้เล่นสามารถเดินไปในทิศทางใด ครั้ง โดยไม่ต้องจ่ายเงิน

2)   การ์ดดอกไม้ คุณสมบัติ ผู้เล่นทุกคนได้รับเงินคนละ บาท

6.2    การ์ดปีศาจ ประกอบด้วย

1)   การ์ดปลา คุณสมบัติ ให้เงินของผู้เล่นคนอื่น คนละ บาท มาเป็นของตัวเอง

2)   การ์ดหมู คุณสมบัติ นำเงินของตัวเองแจกผู้เล่นคนอื่นคนละ บาท

ขั้นตอนการเล่น

1.   ผู้เล่นต้องมี 2 – 4 คน

2.   ผู้เล่นแต่ละคนรับกระดานเขียนโปรแกรมคนละ แผ่น และสุ่มจับบัตรคำสั่งคนละ ใบ ซึ่งบัตรคำสั่งจะมีทิศทางการเดิน ทิศ ได้แก่ เดินขึ้น เดินลง เดินซ้าย และเดินขวา

3.   ผู้เล่นแต่ละคนรับเหรียญ บาท คนละเหรียญ (สมมติว่าเป็นสกุลเงินบาท)

4.   สุ่มเลือกว่าจะให้ผู้เล่นคนใดเดินก่อนหลัง

5.   ผู้เล่นจะต้องนำบัตรคำสั่งวางบนกระดานเขียนโปรแกรมเพื่อให้ตัวละครไปในตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อวางบัตรคำสั่งแล้วให้จ่ายเงินตามจำนวนบัตรที่วาง โดยบัตรคำสั่ง ใบ มีมูลค่า บาท ถ้าจ่ายเงินแล้ว ตัวละครก็จะสามารถเดินไปตามช่องที่บัตรคำสั่งโปรแกรมไว้

6.   ถ้าผู้เล่นไม่สามารถวางบัตรคำสั่งในตานั้นได้ ให้นำบัตรคำสั่งที่ไม่ต้องการ ใบ มาแลกเอาใบคำสั่งใหม่ ใบ ด้วยวิธีการสุ่ม แล้วข้ามการเดินตัวละครในตานั้นไป หากผู้เล่นไม่ได้เดินตัวละคร ตา ก็จะถูกปรับแพ้ทันที

7.   ถ้าเหรียญบนกระดานถูกเก็บจนหมดเกมจะถูกยุติ แล้วนับจำนวนเงินที่ผู้เล่นมีหากผู้เล่นคนใดมีเงินมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ หรือถ้าผู้เล่นมีเงินเหลืออยู่คนเดียว แล้วผู้เล่นคนอื่นไม่มีเงินเหลือแล้วเกมก็จะถูกยุติ ผู้เล่นที่มีเงินจะเป็นผู้ชนะทันที

 

 

กระดานที่ใช้เล่นเกม   

กระดานเขียนโปรแกรมและบัตรคำสั่ง

การ์ดปีศาจ

การ์ดนางฟ้า

 

เหรียญในเกมมีมูลค่าต่างกัน เพื่อฝึกการจ่าย การทอน และการแลกเงิน


ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง

      

            จากการสังเกต พบว่า ในการสอนแบบปกติผู้เรียนจะต่างคนต่างทำในภาระงานของตนเอง จะเงียบ หรืออาจเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ ไม่ให้สนใจกับภาระงาน อาจเพราะทำไม่ได้ เมื่อทดลองใช้บอร์ดเกม ผู้เรียนให้ความสนใจ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมและเนื้อหา ผู้เรียนมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งผู้เรียนยังเกิดความสนุก เนื่องจากได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อนได้เข้าถึงกิจกรรม สร้างความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความกระตือรือร้นให้ผู้เรียน


ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน

            -  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

            -  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น 

            


สัมภาษณ์ ด.ช.ประวีร์ หวังดี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดคลองโนน

“สนุกครับ ได้เล่นกับเพื่อน ชอบกว่าเขียนในใบงาน เพราะมันสนุกกว่า” 

“เข้าใจกว่าเพราะว่าเราได้เล่น ได้เดินเอง เลยเข้าใจ แล้วในใบงานถ้าผิดมันก็ลบยาก”

“อยากให้ครูเอาตัวอื่นมาเดิน คิดตี้มันน่ารักไป” 













สัมภาษณ์ ด.ญ.กิตติมา ทองสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัด  คลองโนน

ชอบค่ะ สนุกดีค่ะ สีสวยดี” 

อันนี้จะสนุกกว่าค่ะ เพราะได้เล่นเอง ก็เลยทำได้

ไม่รู้ค่ะ อยากให้เพิ่มเหรียญมั้งคะ แล้วก็เพิ่มบัตรคำสั่งให้ไปได้หลายทางค่ะ” 

การจัดการเรียนรู้

นวัตกรรม

CS Unplugged

นวัตกรรมบอร์ดเกม

การเรียนรู้เชิงรุก

บอร์ดเกม

Active Learning

วิทยาการคำนวณ

บทความอื่นๆ