บอร์ดเกม Air in the world

อภิญญา เรือนปานันท์
อภิญญา เรือนปานันท์
285 ผู้ชม

แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน สพป. พิจิตรเขต 1

ชื่อ – นามสกุลครู  นางสาวอภิญญา  เรือนปานันท์

ชื่อแผนการเรียนรู้ หน่วยที่ 6 ลม ฟ้า อากาศ

เรื่อง ความสำคัญของแก๊สที่เป็นส่วนประกอบของอากาศ

สาระวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านยางห้าหลุม

ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม

(แนบภาพถ่ายบอร์ดเกมที่ได้รับจากกสศ. ร่วมกับนักเรียนในห้อง)


        
เนื่องจากการเรียนการสอนเรื่องอากาศและส่วนประกอบของอากาศเป็นสิ่งที่นักเรียนมองภาพไม่เห็นเหมือนเรียนเรื่อง วัสดุรอบตัวหรือ เรื่อง สิ่งมีชีวิต ที่นักเรียนได้สัมผัสหรือเห็นภาพตัวอย่างของจิรงจึงทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องอากาศ เป็นสิ่งที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก น่าเบื่อ และจำจดความสำคัญและส่วนประกอบของอากาศไม่ได้ แต่เมื่อครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในห้องเรียนนักเรียนว่ามีความชอบด้านความท้าทายและการแข่งขัน มักพูดถึงเรื่องการเล่นเกมในตอนเย็นหลังเลิกเรียน ครูจึงมีความคิดในการจะใช้เกมเป็นตัวเชื่อมโยงความรู้กับการเรียนที่สนุกสนานควบคู่กันไป

          จากการเข้าร่วมอบรมครูหลักสูตร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกม (Board Game) เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมชาละวัน สพป.พิจิตร   เขต 1 ระหว่างวันที่ 29 -30 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 จึงมีแรงบันดาลใจในการสร้างบอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกิจกรรมบอร์ดเกม (Board Game)  จึงเริ่มศึกษาข้อมูลและวิธีการออกแบบบอร์ดเกม (Board Game) จนสามารถผลิตสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกม (Board Game) ได้สำเร็จ และนำไปใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนเรื่อง ความสำคัญของแก๊สที่เป็นส่วนประกอบของอากาศ ได้สำเร็จ

          ดังนั้นเมื่อนำ บอร์ดเกม (Board Game) มาใช้ในห้องเรียน นักเรียนมีความกระตือรือร้น เกิดความสนใจในการเรียนเรื่อง ความสำคัญของแก๊สที่เป็นส่วนประกอบของอากาศ ทุกคน และทดลองเล่นเกมด้วยความสุขและสนุกสนานและเกิดความรู้เกี่ยวกับเรื่องอากาศโดยไม่รู้ตัวและมีการทดลองเล่นซ้ำๆด้วยตนเองในเวลาว่างเพราะนักเรียนมีความต้องการที่จะตอบคำถามให้ถูกต้องทุกข้อในการ์ดท้าทายและเป็นผู้ชนะในแต่ละรอบการเล่นจึงเกิดการเล่นเกมแบบซ้ำๆจนนักเรียนจดจำเนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของแก๊สที่เป็นส่วนประกอบของอากาศ ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อครูทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังจากการใช้กิจกรรม บอร์ดเกม (Board Game) นักเรียนสามารถตอบได้ทุกคำถามจึงทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม บอร์ดเกม (Board Game) บรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดที่ตั้งไว้


ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น  

(แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)

1. จำนวนผู้เล่น 2-4 คน ต่อ 1 กลุ่ม เลือกตัวละครและวางโมเดลตัวละครที่สุ่มได้ลงบนบอร์ดเกม

2. ผู้เล่นร่วมกันวางการ์ดสถานการณ์ การ์ดเสี่ยงทาย การ์ดคลังความรู้ เหรียญ  ลงบนบอร์ดเกม

3. ผู้เล่นจะได้เหรียญเริ่มเกมคนละ 10 เหรียญ (1 เหรียญมีค่าเท่ากับ 5 คะแนน)

4. นักเรียนสุ่มแต้มลูกเต๋า ผู้เล่นที่มีแต้มมากสุดได้เล่นก่อนตามลำดับ

5. ผู้เล่นวางตัวเดินที่จุดเริ่มต้น ทอดลูกเต๋า 2 ลูกได้จำนวนเท่าไหร่ ให้เดินไปข้างหน้าตามจำนวนนั้น

6.  หากเดินไปตกที่ช่องการ์ดสถานการณ์ใด ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับส่วนประกอบและความสำคัญ 
    ของอากาศ ถ้าตอบถูกจะได้เหรียญตามคะแนนที่ระบุบนการ์ด ถ้าตอบผิดเสียเหรียญตามคะแนนที่
    ระบุบนการ์ดเช่นกัน และจะต้องจั่วการ์ดสถานการณ์ใบใหม่มาวางทับแทนที่ใบเดิม

7. หากเดินตกในช่องการ์ดวัดดวง จะได้สิทธิ์จับการ์ดวัดดวง 1 ใบ โดยสามารถใช้การ์ดป้องกันการเสีย
    คะแนน
, การ์ดสกัดผู้เล่นอื่น,การ์ดเพื่อนให้คะแนน, การ์ดให้คะแนนเพื่อน,การ์ดการให้ความรู้เพื่อนแล้ว
    ได้คะแนน ใช้ได้ 1 ครั้ง

8. เมื่อเดินตกในช่องคลังความรู้ จะได้สิทธิ์จับการ์ดความรู้ 1 ใบ อ่านความรู้เรื่องส่วนประกอบและ
    ความสำคัญของอากาศให้เพื่อนฟัง และได้คะแนนเพิ่มตามที่ระบุบนการ์ด

9. หากเดินตกช่อง Hotel ผู้เล่นจะต้องหยุดเดิน 1 เกมหากทอยลูกเต๋าได้เลขคู่

10. หากเดินตกช่องสร้าง Landmark ตึกผลิตอากาศบริสุทธิ์ หรือบ้านสวนสวรรค์บนดิน ผู้เล่นสามารถซื้อ
     บ้านบน
Landmark ด้วยเหรียญจำนวน 8 เหรียญเมื่อมีผู้เล่นอื่นตกลงบ้านที่ซื้อไว้ จะได้รับค่าเช่าจำนวน
     2 เหรียญ

11. ผู้เล่นคนใดได้คะแนนครบ 100 คะแนนก่อนจะเป็นผู้ชนะ หรือเมื่อผู้เล่นสร้าง Landmark ครบ 2 หลัง
      จะเป็นผู้ชนะ หรือเมื่อเล่นครบเวลาที่กำหนด ผู้เล่นที่มีคะแนนสะสมสูงที่สุดเป็นผู้ชนะ

12. ผู้เล่นที่คะแนนเหลือ 0 แต้ม จะถูกปรับแพ้เกมในทันที


ภาพบอร์ดจริงที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่ได้จัดพิมพ์บอร์ดเกมกับโรงเรียนบ้านยางห้าหลุม  สพป.พิจิตร เขต จำนวน  3  บอร์ด



             ตัวอย่างการ์ดวัดดวง


                     ตัวอย่างการ์ดท้าทาย

ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง (แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม)

1.     การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง (ใฝ่เรียนรู้) นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการหาความรู้ผ่านกิจกรรมบอร์ดเกม (Board Game)  เช่น ตั้งใจอ่านความรู้จากการ์ดความรู้ให้เพื่อนๆฟัง การมีความพยายามตอบคำถามจากการ์ดท้าทาย จากความพยายามในการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความจำที่ฝังแน่น

1.     ความสามัคคี นักเรียนสมาชิกในกลุ่มให้ความช่วยเหลือกันในการอ่านการ์ดเมื่อเพื่อนอ่านไม่คล่อง และช่วยอธิบายกติกาการเล่นให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟังในระยะเริ่มเล่นเกมช่วงแรกๆจนสมาชิกทุกคนร่วมเล่นเกมได้อย่างเข้าใจในกติกาและเล่นได้อย่างราบรื่น


1.     การมีคุณธรรมในการรักษาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับอากาศพร้อมกับการมีความสำนึกรักท้องถิ่นของตนสังเกตได้จากการตอบคำถามในการ์ดท้าทายและพฤติกรรมในการรักษาสภาพแวดล้อม

ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน (พร้อมรูปถ่ายเดี่ยวนักเรียน)



เด็กหญิงวิชญาดา  เที่ยงอยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

          “หนูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของอากาศ และจำชื่อแก๊สที่เป็นส่วนประกอบของอากาศได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งหนูได้ความสนุกสนานตื่นเต้นไปพร้อมๆกันค่ะ

-  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น

          หนูอยากให้คุณครูเพิ่มคะแนนในการ์ดท้าทายเป็น +15, +20 คะแนน มันจะมีความตื่นเต้นกับคะแนนที่ได้รับเมื่อเราตอบคำถามได้ถูกต้อง และเพื่อหนูจะได้คะแนนเยอะๆค่ะ



เด็กชายกรวิชญ์  เบ้าภาระ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร

          รู้สึกเป็นคาบที่เรียนอย่างมีความสุขและสนุกทุกครั้งที่ได้เล่นเกมในบอร์ดเกม (Board Game) ครับครู มันท้าทายในการตอบคำถามจากการ์ดท้ายทาย ว่าผมจะตอบคำถามได้ถูกต้องไหม และจะได้คะแนนเพิ่มเท่าไหร่

-  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น

          “อยากให้คุณครูเพิ่มการ์ดพิเศษที่สามารถสกัดเพื่อนที่ใกล้ชนะ ให้เขาหยุดเล่นก่อน 1 ตา หลายๆใบครับ เพื่อที่เกมจะเดินไปอย่างสนุกสนาน และน่าตื่นเต้นครับ

บทความอื่นๆ