ชื่อ - นามสกุลครู นางสาวปริม คงหมื่นรักษ์
ชื่อแผนการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย
สาระวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียน บ้านรังนก(ประชาพิทักษ์)
ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม
ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน การศึกษา การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ผ่านมาอาจไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ต้องมีพื้นฐานความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงหรือพัฒนานวัตกรรม และใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการสร้างองค์ความรู้หรือสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์
โดยมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระเทคโนโลยี ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันและมีจริยธรรม เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ข้าพเจ้าออกแบบสื่อบอร์ดเกม เรื่อง รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เพื่อให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น ผ่านการใช้งานบอร์ดเกม เรื่อง รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ดังนั้นสื่อเทคโนโลยีที่ข้าพเจ้าได้สร้างขึ้นมาจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถทำให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้
ประเด็นที่ 2 วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น
วิธีการเล่นเกมรู้เท่าทันสื่อออนไลน์
1.
ผู้เล่นจำนวน 2-4 คน
2.
ผู้เลือกตัวละครคนละ 1 ตัว แล้ววางตัวละครไว้ที่จุดเริ่มต้น
3.
แจกทรัพยากรเริ่มต้นให้ผู้เล่นแต่ละคน ดังนี้
1) เหรียญทอง 15 เหรียญ (เหรียญละ 5 คะแนน)
2) บ้าน 5 หลัง (หลังละ 10 คะแนน)
3) สุ่มการ์ดพิเศษชนิดการ์ดป้องกัน 1 ใบ
4.
ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันวางการ์ดสถานการณ์ลงบนกระดานเกมจนครบทุกช่อง (โดยเฉลี่ยให้มีการ์ดสถานการณ์ที่ปลอดภัยและสถานการณ์เสี่ยงจำนวนเท่าๆ
กัน) ส่วนการ์ดที่เหลือให้วางไว้กองกลาง
5. สับการ์ดพิเศษชนิดการ์ดป้องกันที่เหลือจากการสุ่มรวมกับการ์ดพิเศษชนิดการ์ดก่อกวน และวางไว้ที่กองกลาง
6.
ผู้เล่นทอยลูกเต๋า ผู้ที่ได้แต้มมากที่สุดจะเป็นผู้เล่นคนแรก
ตามด้วยลำดับถัดไป
7. ผู้เล่นทอยลูกเต๋า แล้วเดินตัวละครตามจำนวนเลขที่ทอยลูกเต๋าได้ เมื่อตกที่ช่องสถานการณ์ให้ผู้เล่นหยิบการ์ดขึ้นมาอ่านให้ผู้เล่นคนอื่นๆ ฟัง
8. หากตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงจะเสียเหรียญคะแนนหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยจะได้เหรียญคะแนนเพิ่มตามเงื่อนไขในการ์ดสถานการณ์
9. ในกรณีมีผู้เล่นที่ตกอยู่ในการ์ดสถานการณ์ซ้ำใบเดิมเกิน 2 ครั้ง ผู้เล่นสามารถเก็บการ์ดและสุ่มการ์ดสถานการณ์จากกองกลางมาเปลี่ยนได้
10.
หากผู้เล่นเดินตกในช่องจุดพักใจ ซึ่งอยู่ใน 4
มุมบนกระดานเกม ผู้เล่นจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
1) วางบ้านเพื่อนสร้างแลนด์มาร์คได้ครั้งละ
1 หลัง (1 แลนด์มาร์ค นับเป็น 10 คะแนน)
2) สุ่มการ์ดพิเศษ 1 ใบ แล้วทำตามเงื่อนไขในการ์ด
11. เมื่อครบเวลาตามที่กำหนดถือว่าจบเกม ให้ผู้เล่นแต่ละคนนับคะแนนเพื่อหาผู้ชนะ
ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง
ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน
บทสัมภาษณ์จากเด็กชายธนากร ขันตรี
Q: การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือมีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
A: ชอบมากที่ได้เล่นและได้ความรู้ไปพร้อมๆ กัน เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้นกว่าการอ่านหนังสือกับทำแบบฝึกหัดอย่างเดียว
Q: อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
A: อยากให้มีการ์ดสำหรับตอบคำถามเพื่อได้คะแนนพิเศษเพิ่มขึ้น
Q: การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือมีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
A: การเรียนผ่านบอร์ดเกมทำให้จำเนื้อหาได้มากขึ้น และในเกมมีสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ทำให้เรามีความรู้และเตรียมรับมือในการใช้เทคโนโลยีกับสถานการณ์จริงบนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
Q: อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
A: อยากให้มีการ์ดสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับข่าวบนโลกออนไลน์ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ