การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกมแกะรอยสมบัติของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองปล้อง จังหวัดพิจิตร

ศศิภา สุขเจริญ
ศศิภา สุขเจริญ
63,192 ผู้ชม

แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน สพป. พิจิตรเขต 1

ชื่อ–นามสกุลครู นางสาวศศิภา  สุขเจริญ

                                    ชื่อแผนการเรียนรู้การนำวัสดุมาใช้งานตามสมบัติของวัสดุ                                     

สาระวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองปล้อง


แรงบันดาลใจในการสร้างเกม 

                  จากการสังเกตการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองปล้อง พบว่า  การจัดการเรียนการสอนตามปกติทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่กระตือรือร้น ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้  เป็นโจทย์ที่ครูต้องกลับมาถามตัวเองว่า         "เราจะสอนอย่างไรให้เด็กได้ความรู้ และมีความสุขด้วย"

                 

                  หลังจากได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ในศตวรรษที่ 21 จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  ซึ่งการอบรมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบอร์ดเกม แกะรอยสมบัติของวัสดุเป็นบอร์ดเกมที่ครูตั้งใจหยิบเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้วัสดุรอบตัว เรื่องการนำวัสดุมาใช้งานตามสมบัติของวัสดุ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อมาช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่อง สมบัติของวัสดุมากยิ่งขึ้น   

โดยออกแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่นเกม ซึ่งวัตถุที่ยกขึ้นมาในเกมจะนำมาจากวัตถุที่ผู้เรียนพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมได้ เมื่อนำเนื้อหาเข้ามาไว้ในบอร์ดเกมสร้างความท้าทาย        เกิดการแข่งขัน ทำให้ห้องเรียนสนุกขึ้น ดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้มากขึ้น เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทำให้ความรู้นั้นมีความหมายและคงทน                                                                                                                                                                                                             

                  และไม่เพียงแต่ในคาบเรียนเท่านั้นที่บอร์ดเกมสามารถดึงดูดใจของผู้เรียนได้ เมื่อเรียนจบคาบแล้ว ผู้เรียนยังให้ความสนใจในบอร์ดเกมและหาเวลาว่างแวะเวียนมาเล่นบอร์ดเกมกันอยู่เสมอ เกิดเป็นการเรียนรู้แบบไม่รู้จบ



วิธีการเล่นเกม 














คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม


1.      ห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกมทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น

2.      ห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้ความรู้นั้นมีความหมายและคงทน

3.      ห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกมทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนที่ใช้บอร์ดเกมมากกว่าการเรียนการสอนปกติ

4.      ห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกมทำให้ผู้เรียนอยากทำกิจกรรมซ้ำด้วยความสมัครใจ รวมตัวกันเพื่อใช้เวลาว่างนอกเหนือจากในคาบเรียนเพื่อเล่นบอร์ดเกม

5.      ห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกมทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้มากกว่าการเรียนการสอนปกติ




บทสัมภาษณ์ผู้เรียน


การจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้

นวัตกรรมบอร์ดเกม

การเรียนรู้เชิงรุก

บอร์ดเกม

Active Learning

ประถมศึกษาปีที่2

บทความอื่นๆ