การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) บอร์ดเกม เรื่อง การแยกตัวประกอบจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

วีระยุทธ บัวชุม
วีระยุทธ บัวชุม
92 ผู้ชม

ชื่อเกม  เกมเศรษฐี การแยกตัวประกอบจำนวนนับ
วิชา คณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

หัวข้อหรือเนื้อหาในเกม การแยกตัวประกอบจำนวนนับ
จำนวนผู้เล่น    3-5  คน เวลา    20  นาที ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

มาตรฐาน ค 1.1          เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้

1.1 ป.6/4   หา ห.ร.ม. ของจำนวนนับไม่เกิน 3 จำนวน

1.1 ป.6/5   หา ค.ร.น. ของจำนวนนับไม่เกิน 3 จำนวน

ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม (แนบภาพถ่ายบอร์ดเกมที่ได้รับจากกสศ. ร่วมกับนักเรียนในห้อง)
         
เรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะนำไปต่อยอดในการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องต่างๆ เช่น การหา ห.ร.ม. ค.ร.น. และการแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ และมีความสำคัญในระดับชั้นมัธยมต้น ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะแยกตัวกอบไม่ถูกต้อง ครูจึงคิดหาวิธีที่จะทำให้นักเรียนสนุกกับการแยกตัวประกอบที่ผสมผสานเอาความรู้และเทคนิคการเล่นเกมส์เศรษฐีมาให้ ได้โดยไม่จำเป็นต้องท่องจำ เพราะจะทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย และไม่อยากท่อง ทำให้นักเรียนยังจำไม่ได้อยู่เหมือนเดิม

          เหตุผลข้างต้นทำให้ครูสร้างบอร์ดเกม เกมเศรษฐี  การแยกตัวประกอบของจำนวนนับ ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนรู้สึกสนุกกับเนื้อหาเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ โดยนักเรียนจะได้เกิดการย้ำคิดย้ำทำ และสนุกกับการเรียนรู้ แต่นักเรียนที่เล่นเกมนี้จะเกิดความชำนาญและแยกตัวประกอบเอง เมื่อเจอกับโจทย์ต่างๆ



ประเด็นที่ 2  วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น  (แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)

วิธีการเล่น

     1. วางตัวผู้เล่นที่จุดเริ่มต้น

    2. เลือกผู้เล่นคนแรกโดยการทอยลูกเต๋า แต้มมากสุดได้เล่นคนแรก

    3. โยนลูกเต๋า  และเดินตัวผู้เล่นตามผลลัพธ์ที่ทอยลูกเต๋าได้

    4. ถ้าหยุดบนพื้นที่ให้เปิดบัตรแล้วบอกคำตอบการแยกตัวประกอบ(ตอบถูกจึงจะได้เหรียญ)

    5. ถ้าหยุดที่คำถามให้ตอบคำถามที่จับได้ ตอบถูกจึงได้คะแนน

    6. ถ้าหยุดที่เสี่ยงดวงให้จับบัตรเลี่ยงดวงลุ้นโชค

    7. แจกเหรียญทุกครั้งที่ได้รับหรือลดเหรียญ

    8. ผู้เล่นที่มีคะแนนเหรียญมากที่สุดหรือถึง 50 เหรียญก่อนจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น



ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง (แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม)

          จากการสังเกตคุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม มีความแตกต่างจากการเรียนการสอนปกติโดยสิ้นเชิง ซึ่งการจัดการสอนการสอนปกตินักเรียนส่วนใหญ่จะตั้งใจเรียนและรับเนื้อหาในคาบได้อย่างมากไม่เกิน 15 นาที หลังจากนั้นนักเรียนจะเริ่มไม่มีสมาธิ และเริ่มชวนเพื่อนคุย ทำในการเรียนการสอนในคาบนั้นไม่ได้เนื้อหาตามที่ครูกำหนดไว้เท่าที่ควร แต่การนำบอร์ดเกมเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การแยกตัวประกอบของจำนวนนับ นักเรียนสามารถนั่งเล่นบอร์ดเกมนี้จนเกมจบ ซึ่งจะใช้เวลา 20-30 นาที และในระหว่างการเล่นเกมนักเรียนจะได้ทบทวนเนื้อหาตลอดเวลา ซึ่งทำให้คาบที่นักเรียนใช้บอร์ดเกมเกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม



ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน (พร้อมรูปถ่ายเดี่ยวนักเรียน)

-  การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร




เด็กชายฐิติพงษ์  ทองน้อย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          - สนุกเมื่อได้ลองเล่นทำให้เราแยกตัวกอบของจำนวนต่างๆได้ อยากเล่นบ่อยๆเพราะมีเหรียญรางวัลแยกด้วย ตาไหนเล่นแพ้อย่าขอสู้ใหม่  เราก็อยากจะเล่นต่อไปเรื่อย ๆ จนลืมไปเลยว่าเรากำลังเรียนอยู่ อยากให้ครูทำเกมในเรื่องอื่นๆด้วย เรียนแบบนี้สนุกมาก

เด็กชายศุภนัฐ วันขวัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          - เป็นการเรียนคณิตสาสตร์ที่สนุกมากเหมือนเรียนไม่ต้องเครียด ครูได้นำเกมมาให้เล่นสนุกสนานแต่กับได้ความรู้เรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนต่างๆ ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ อยากเล่นต่อไปเรื่อย ๆ อยากเอาชนะฝ่ายตรงข้าม สุดท้ายก็จำเนื้อหาได้จากการเล่นเกมได้เอง

-  อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น

   อยากให้มีความท้าทายมากขึ้น มีการ์ดตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องบัตรความรู้ บัตรเสี่ยงดวง ในระหว่างเล่นจะได้ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น มีการ์ดตัวช่วยและการ์ดแกล้งเพื่อนเพิ่มมากขึ้นจะได้เพิ่มความสนุก


บทความอื่นๆ