แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน
สพป. พิจิตรเขต 2
ชื่อ
– นามสกุลครู นางสาววนิดา คุณสิน
ชื่อแผนการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เขียนโปรแกรมแสนสนุก
เรื่อง
บล็อกคำสั่งในโปรแกรม scratch เบื้องต้น
สาระวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบุรพรัตน์วิทยาคาร
ประเด็นที่ 1
คำอธิบายแผนการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจในการสร้างเกม
เนื่องจากการเขียนภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
ทำให้การเขียนโปรแกรมก็เป็นไม้เบื่อไม้เมากับนักเรียนที่ไม่ถนัดในภาษาอังกฤษ
ซึ่งหากนักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะหรือใช้คำสั่งในการเขียนโปรแกรมอยู่ประจำก็อาจทำให้ลืมได้ง่าย
การจัดการเรียนการสอนจึงได้ผลลัพธ์ไม่เป็นตามที่คุณครูตั้งเป้าหมายไว้
จากกฎของธอร์นไดค์ แห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The
Law of Exercise or Repetition) ชี้ให้เห็นว่า
การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ
จะทำให้การกระทำนั้นถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
แต่จะให้นักเรียนท่องคำสั่งที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมซ้ำ ๆ
อาจทำให้นักเรียนเบื่อหน่ายได้
ดังนั้นหากลองเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based learning) น่าจะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและเกิดการจดจำไปอย่างไม่รู้ตัวด้วยความสนุกสนาน รวมทั้งก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการเขียนโปรแกรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งได้เริ่มเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก
ประเด็นที่
2 วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น
1.
แบ่งผู้เล่นจำนวน 4 -5 คน อาจมีผู้เล่น 1 คนเป็นกรรมการและบันทึกบล็อกคำสั่ง
2.
ผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดเลือกตัวละคร 1 ตัว
และจั่วการ์ดความหมายบล็อกคำสั่งจำนวน 3 ใบก่อน
(ตัวละครมีทั้งหมด 3 สีตามกลุ่มบล็อก ได้แก่
สีฟ้า (Motion)
สีม่วง (Look) และสีส้ม (Control))
3.
ผู้เล่นคนอื่นเลือกตัวละคร 1 ตัว และจั่วการ์ดความหมายบล็อกคำสั่งจำนวน 3 ใบ
ตามลำดับอายุ
3.1) ถ้าผู้เล่นคนใดจั่วได้การ์ดโบนัส
(การ์ดสีทอง) จะผู้เล่นทุกคนจะต้องช่วยกันตอบคำถามที่อยู่ในการ์ด
โดยถ้าตอบถูกผู้เล่นทุกคนจะได้คะแนนตามธงที่อยู่บนการ์ดโบนัส
แต่ถ้าตอบไม่ได้ให้วางการ์ดเข้ากองการ์ดเหมือนเดิม
3.2)
ผู้เล่นมีสิทธิ์เลือกเดินหน้าหรือถอยหลังได้ตั้งแต่ 1-3 ช่อง
3.3)
เมื่อผู้เล่นเดินตกที่การ์ดโจทย์ใบใด
3.3.1)
ถ้ามีการ์ดความหมายบล็อกคำสั่งตรงกันกับช่องการ์ดโจทย์ที่ตก
ผู้เล่นต้องนำการ์ดความหมายบล็อกคำสั่งที่ตรงกันไปวางทับการ์ดโจทย์และอ่านความหมายให้ผู้เล่นคนอื่นฟัง
และจะได้คะแนน 1 คะแนน
3.3.2) ถ้าตกที่กลุ่มบล็อกเดียวกัน เช่น
ตัวละครตกที่การ์ดโจทย์กลุ่มบล็อก Motion จะมีสิทธิ์ได้หยิบบัตรพิเศษจำนวน
1 ครั้งต่อ 1 รอบ หรือผ่านบัตรใบแรกใหม่ก่อนจึงจะหยิบบัตรใหม่ได้
โดยสามารถใช้บัตรพิเศษได้เมื่อถึงตาของตนเองในรอบถัดไป
3.3.3)
ถ้าไม่มีการ์ดความหมายบล็อกคำสั่งตรงกันกับช่องการ์ดโจทย์ที่ตก
ให้ผู้เล่นคนถัดไปเป็นผู้เล่นต่อ
3.4) เล่นวนในขั้นตอนที่ 3.2-3.3)
จนหมดเวลา 20 นาที ผู้เล่นที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็น ผู้ชนะ หรือผู้เล่นที่การ์ดชุดบล็อกคำสั่งหมดมือก่อนจะเป็นผู้ชนะ
ประเด็นที่ 3
คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม
แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติอย่างไรบ้าง
1. การรู้ด้วยตนเอง นักมีความกระตือรือร้นที่จะฝึกหัดใช้คำสั่ง เพื่อให้สามารถจำความหมายของคำสั่งในการเขียนโปรแกรมและเพิ่มโอกาสในการชนะในการเล่นเกมรอบถัดไป โดยที่คุณครูไม่ต้องสั่งหรือให้เป็นการบ้าน
2.การแก้ปัญหา นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานมากขึ้น สังเกตจากการเลือกเส้นทางและจำนวนก้าวการเดินเพื่อจับคู่บัตรคำสั่งและบัตรความหมายของตนเอง
3. ความร่วมมือ นักเรียนช่วยเหลือกันในการอ่านคำสั่ง หรือช่วยกันอธิบายการเล่นให้เพื่อน ๆ ในกลุ่ม ในช่วงแรกๆที่หัดเล่นบอร์ดเกม โดยไม่มองเพื่อนว่าเป็นคู่แข่ง
เด็กหญิง จริยาวดี ประพฤติธรรม ชั้น ป.4
-
การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ
มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
“เกมสนุกดี ทำให้หนูจำคำสั่งได้
รู้ภาษาอังกฤษด้วย เวลาเขียนโปรแกรมก็หาคำสั่งได้ไวขึ้น หนูจำจากสีการ์ดเอาค่ะ”
-
อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
“บางการ์ดคำสั่งที่หนูไม่มี แต่หนูตอบได้ หนูอยากตอบ เพิ่มการ์ดพิเศษให้หนูตอบได้ได้ไหมคะ หนุอยากได้คะแนนเยอะ ๆ”
เด็กหญิง ลักษิกา กุมขุนทด ชั้น ป.4
-
การเรียนผ่านบอร์ดเกม ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ
มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
“เหมือนเล่นเกมเศรษฐีเลยครู ข้อดีคือหนูได้ฝึกภาษาอังกฤษที่เป็นคำสั่ง
scratch ทำให้หนูรู้ความหมาย
ตอนเขียนโปรแกรมเลยรู้ว่าคำสั่งไหนคืออะไรและสีอะไร”
-
อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
“หนูยังอ่านภาษาอังกฤษบางอันไม่ได้
อยากให้คุณครูเขียนคำอ่านภาษาไทยให้หนู จะได้นึกออกว่าแปลว่าอะไร บางทีหนูจำคำได้
แต่อ่านไม่ออกค่ะ”