แบบสรุปการนำบอร์ดเกมไปใช้ในห้องเรียน
สพป. พิจิตรเขต 2
ชื่อ – นามสกุลครู นายจักรกริศน์
เณรหลำ ชื่อแผนการเรียนรู้ เรียนรู้หิน
ถิ่นไทยแลนด์
สาระวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดป่าเรไร
ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้ /
แรงบันดาลใจในการสร้างเกม (แนบภาพถ่ายบอร์ด
เกมที่ได้รับจากกสศ.
ร่วมกับนักเรียนในห้อง)
คำอธิบายแผนการเรียนรู้
ข้อมูลกรอบแนวทางการออกแบบเกม
ชื่อเกม………………เรียนรู้หิน ถิ่นไทยแลนด์………………………
วิชา…………วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ………..กลุ่มสาระการเรียนรู้…………วิทยาศาสตร์……….
หัวข้อหรือเนื้อหาในเกม…….…เรียนรู้กระบวนการกร่อน ผุพังอยู่กับที่ ผ่านการท่องเที่ยวในเกม…………
จำนวนผู้เล่น……2-4……..คน เวลา………10-30……...นาที ระดับชั้น………มัธยมศึกษาปีที่ 2………..
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ว 3.2 (1) (5)
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของระบบโลก
กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก
1. เปรียบเทียบกระบวนการเกิด สมบัติ และการใช้ประโยชน์
รวมทั้งอธิบายผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์จากข้อมูลที่รวบรวมได้
5. อธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อน
และการสะสมตัวของตะกอนจากแบบจำลอง
รวมทั้งยกตัวอย่างผลของกระบวนการดังกล่าวที่ทำให้ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.
อธิบายผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์จากข้อมูลที่รวบรวมได้ (K)
2.
อธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อน และการสะสมตัวของตะกอนได้ (K)
3.
นักเรียนเกิดทักษะการสื่อสารผ่านการใช้งานบอร์ดเกม เรียนรู้หิน
ถิ่นไทยแลนด์ (P)
4.
นักเรียนมุ่งมั่นทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ (A)
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง
เรียนรู้หิน ถิ่นไทยแลนด์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีทัศนคติเชิงบวกในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่เป็นนามธรรม ว่าการเรียนรู้เรื่องหิน ดิน แร่ และสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ
สามารถนำเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ได้ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
แรงบันดาลใจในการสร้างเกม
การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนต้องเจอปัญหาหลากหลายอย่าง
แต่ประเด็นหนึ่งคือจะทำ
อย่างไรให้นักเรียนสนใจในตัวบทเรียนและเนื้อหาได้ครบตามมาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
จนบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในบทเรียน
สามารถวัดผลและประเมินผลผู้เรียน ซึ่งได้หาวิธีการ
สอนต่าง ๆ จนมาพบกับการจัดทำบอร์ดเกมเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์และทำให้
ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเล่น
โดยการแทรกความรู้ในบทเรียนเข้าไปบูรณาการกับวิชาที่เกี่ยวข้องรวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ภายในโรงเรียน
กระตุ้นให้นักเรียนอยากที่จะอ่านข้อความจากการ์ดเกม พร้อมทั้งสอดแทรกเนื้อหาไปในการเล่นเกม
เพื่อจะได้ทั้งความสนุก กระบวนการคิด และความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแหล่ง
นักเรียนก็จะได้ความรู้จากการเล่นเกมสะสมก่อเกิดเป็นความจดจำที่คงทน
เมื่อเล่นซ้ำ ๆ หรืออ่านข้อมูล
บ่อย ๆ การใช้บอร์ดเกมเพื่อการศึกษา มีส่วนช่วยให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้
ช่วยให้เกิดความคิดเป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่มบรรยากาศให้มีความสนุกสนานขึ้นหรือพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา
เกมจึงมีความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ท้าทายสำหรับยุคปัจจุบัน
ประเด็นที่ 2 วิธีการเล่นเกม / ขั้นตอนการเล่น
(แนบรูปภาพบอร์ดเกมและการ์ดเกมที่ครูทำไว้)
อุปกรณ์
1. กระดานบอร์ดเกม จำนวน 4 แผ่น
2. การ์ดอัญมณี การ์ดพิเศษและการ์ดป้องกัน จำนวน 16 ชุด
3. หมากเดินเกม
(หมากอัญมณี) จำนวน 4
ชุด
4. ลูกเต๋า หมากพิเศษ (Landmark) เหรียญคะแนน จำนวน 4 ชุด
5. คู่มือการใช้งานบอร์ดเกม
เรียนรู้หิน
ถิ่นไทยแลนด์ จำนวน 16 ชุด
ข้อมูลการออกแบบขั้นตอนการเล่นเกม
การเตรียมการเล่น
1. เลือกตัวแทนแจกคู่มือการใช้งานบอร์ดเกม “เรียนรู้หิน
ถิ่นไทยแลนด์” ให้เวลาทำความเข้าใจวิธีการเล่น 1 นาที
การดำเนินการเล่น
1. ผู้เล่นสุ่มการ์ดอัญมณี เพื่อสุ่มเลือกตัวละครคนละ 1 ใบ (การ์ดอัญมณีมี 9 ใบ ได้แก่
(เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์) และเลือกหมากเดินเกมให้ตรงกับการ์ดอัญมณี
2.
ผู้เล่นสุ่มการ์ดพิเศษ คนละ 1 ใบ (การ์ดพิเศษมี 4 ใบ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ)
เพื่อนำไว้ใช้เป็นตัวช่วยในการครอบครองสถานที่ท่องเที่ยวนั้น
(เฉพาะสถานที่ที่มีค่าพลังชนิดเดียวกัน จึงจะสามารถครอบครองได้
ซึ่งหากใครตกลงในสถานที่ครอบครอง จะต้องจ่ายเงินให้กับผู้เล่นเจ้าของสถานที่ตามจำนวนที่ระบุไว้)
3. แจกอุปกรณ์ให้ผู้เล่นแต่ละคน ดังนี้
3.1 โมเดล Landmark ให้ผู้เล่น
คนละ 6 อัน
3.2 เหรียญทอง 1 เหรียญมีค่า 5 คะแนน
แจกให้คนละ 10 เหรียญ
4.
ผู้เล่นร่วมกันเลือกลงการ์ด “แหล่งหิน ถิ่นไทย” ให้ครบทั้ง
20 ช่อง
5. ผู้เล่นเลือกลงหมากเดินเกม ตรงช่องใดก็ได้
ยกเว้น ช่องสถานที่หลัก
6. ผู้เล่นสุ่มแต้มลูกเต๋า
ผู้เล่นที่มีแต้มมากสุดได้เล่นก่อนตามลำดับ เดินตามทิศตามเข็มนาฬิกา
7. เดินตัวละครตามตัวเลขที่ได้จากการโยนลูกเต๋า
เมื่อตกที่ช่อง “แหล่งหิน ถิ่นไทย” ผู้เล่นจะเสียคะแนน และได้รับคะแนนตามที่ระบุในช่องบอร์ดเกม
8. เมื่อเดินตกในช่องสถานที่หลัก (อุทยานธรณีโลกสตูล
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง กรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ทั้ง 4 มุมของบอร์ดเกม
เรียนรู้หิน
ถิ่นไทยแลนด์) จะได้สิทธิ์เป็นผู้ดูแลสถานที่นั้น
และได้จับการ์ดป้องกัน 1 ใบ โดยสามารถใช้การ์ดป้องกันได้ทันทีที่เปิดการ์ดหรือเก็บไว้เรียกใช้ได้ตามจำนวนครั้งที่กำหนดเท่านั้น
9.
เมื่อผู้เล่นคนอื่นมาตกที่สถานที่หลัก
จะได้สิทธิ์ผู้ดูแลร่วม (สามารถวาง Landmark
ได้ 1 ตัว) เมื่อได้ครบ 4 สถานที่จะเป็นผู้ชนะทันที
10.
ให้ผู้เล่นอ่านออกเสียงทุกครั้งที่เดินตกในช่องบอร์ดเกม
และในการเปิดการ์ดและใช้การ์ดป้องกัน
เพื่อให้ผู้เล่นอื่นได้เรียนรู้
และตระหนักรู้ในภัยพิบัติต่าง ๆ ภายในเกม
การยุติการเล่น
1. ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวละครก่อนเล่น
และเลือกได้ 1 ครั้งเท่านั้น
2. ผู้เล่นที่ได้สถานที่หลักครบ
4 สถานที่จะเป็นผู้ชนะ
3. เมื่อเล่นครบเวลาที่กำหนด
ผู้เล่นที่มีคะแนนสะสมสูงที่สุดเป็นผู้ชนะ
4. ผู้เล่นที่คะแนนเหลือ
0 แต้ม จะถูกปรับแพ้เกมในทันที
การคิดคะแนนหลังจบเกม
1. จำนวนเหรียญที่เหลืออยู่
เหรียญละ 5 คะแนน ใครเหลือจำนวนเหรียญมากที่สุด
หลังจากหมดเวลา คนนั้นเป็นฝ่ายชนะ
ประเด็นที่ 3 คุณลักษณะของผู้เรียนในห้องเรียนที่ใช้บอร์ดเกม
แตกต่างจากการเรียนการสอน
ปกติอย่างไรบ้าง
(แนบภาพเด็กเล่นบอร์ดเกม)
จากการที่ได้นำนวัตกรรมบอร์ดเกมมาใช้จัดการเรียนการสอน
ทำให้นักเรียนมีความ
สนใจอยากเรียนรู้ อยากเล่น
การสืบค้นข้อมูลไม่ได้มีเพียงในรูปแบบออนไลน์ สามารถแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
และในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศของเปลือกโลก
และการเกิดหินในลักษณะแตกต่างกัน รวมทั้งสนใจที่จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของหิน
ดิน แร่ อีกด้วย
ข้อมูลการนำไปใช้ในชั้นเรียน
จากการทำไปใช้ในชั้นเรียนเกิดผลต่อผู้เรียนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างไร
ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในเรื่องที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม
ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
เกิดปัญหาและอุปสรรคระหว่างการนำไปใช้ในชั้นเรียนอย่างไร
ต้องเตรียมเติมเต็มความรู้ และความรู้รอบตัวที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้เนื่องจากนักเรียนจะมีคำถามปลายเปิดที่เกี่ยวข้องมากมาย
และต้องได้รับคำตอบที่ถูกต้อง
มีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคระหว่างการนำไปใช้ในชั้นเรียนอย่างไร
ใช้คอมพิวเตอร์ในการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล
ที่นักเรียนต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
ประเด็นที่ 4 สัมภาษณ์ผู้เรียนตัวอย่าง 2 คน (พร้อมรูปถ่ายเดี่ยวนักเรียน)
Q : การเรียนผ่านบอร์ดเกม
ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
A : ได้เรียนรู้เรื่อง
เรียนรู้หิน ถิ่นไทยแลนด์ ผ่านบอร์ดเกมที่สอดแทรกผ่านการท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ
ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักมากมาย ทำให้สนุก ตื่นเต้น ได้รับความรู้จากแต่ละสถานที่
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้น่าค้นหาสถานที่อื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับโลกและการเปลี่ยนแปลง
Q : อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
A : อยากสร้างการ์ดเกมที่เพิ่มอรรถรสในการเล่นให้มีการแกล้งกันมากขึ้น
และถ้ามีโอกาสอยากสร้างสถานที่แหล่งใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากแหล่งที่มีอยู่แล้ว
Q : การเรียนผ่านบอร์ดเกม
ทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้นอย่างไร หรือ มีข้อดีต่อการเรียนรู้ของเราอย่างไร
A : ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยาในประเทศไทย
ที่มีการเปลี่ยนสภาพ เปลี่ยนแปลง และสามารถนำมาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาได้
รวมทั้ง ความสำคัญที่ได้จากการเรียนรู้ประโยชน์ของดิน หิน แร่ และแหล่งแร่ที่สำคัญในประเทศไทย
Q : อธิบายสิ่งที่อยากให้ครูพัฒนาในบอร์ดเกมที่ได้เล่น
A : อยากให้มีการขยายเวลาในการเล่นมากขึ้น
และสามารถสร้างการ์ดพิเศษได้เอง และนำไปใช้ในทันที