กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคบันได 6 ขั้น สู่การอ่านจับใจความสำคัญ

วัณลพ น้อยวิมล
วัณลพ น้อยวิมล
1,457 ผู้ชม

ชื่อ – นามสกุล     นายวัณลพ  น้อยวิมล     ชื่อแผนการเรียนรู้    การแก้ไขปัญหาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคบันได 6 ขั้น สู่การอ่านจับใจความสำคัญ

สาระวิชา   ภาษาไทย      ระดับชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 2    โรงเรียนวัดสมหวัง

 

ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้

         การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง โดยใช้นวัตกรรมทางการเรียนการสอน (Instructional innovation) โดยมีเป้าหมายตามหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ซึ่งต้องดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความรอบรู้  ก้าวทันโลกและการเปลี่ยนแปลง  มีคุณธรรมและจริยธรรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคบันได 6 ขั้น สู่การอ่านจับใจความ   โดยมีวัตถุประสงค์แก้ปัญหานักเรียนที่ยังขาดทักษะการจับใจความสำคัญ  ดิฉันครูผู้สอนในรายวิชาภาษาไทย   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   ในปีการศึกษา 2566  พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ จับใจความสำคัญจากการอ่านไม่ครอบคลุมใจความ   นักเรียนตัดตอนเนื้อเรื่องบางส่วนมาสรุปเป็นใจความสำคัญ  ไม่สามารถระบุใจความสำคัญในเนื้อเรื่องที่อ่านได้  โดยที่เทคนิคการสอนบันได 6 ขั้นมีรายละเอียดดังนี้ 

         บันไดขั้นที่ 1  อ่านเรื่องเพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด  การอ่านเรื่องให้จบ ตั้งคำถาม 5w1h

          บันไดขั้นที่  2  การหาคำสำคัญ (Key Words) คำที่เขียนเหมือนกัน  คำที่เขียนต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาเรียบเรียงใจความสำคัญ

          บันไดขั้นที่ 3  ตัดส่วนขยายใจความสำคัญ    ธรรมชาติของการเขียนนั้น  การนำเสนอความคิดหรือความรู้ในงานเขียน  ผู้เขียนไม่ได้เสนอแต่ใจความสำคัญออกมาอย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือ ผู้เขียนไม่ได้กล่าวตรง ๆ ว่า เรื่องที่เขียนนั้นมีใจความสำคัญอย่างไร  แต่จะถูกห้อมล้อมด้วยบริบท  ในโครงสร้างของการเขียนคือ  การขยายความ  อาจแสดงอยู่ในลักษณะการให้คำจำกัดความ  การอธิบายให้รายละเอียด การให้เหตุผล  การยกตัวอย่าง  หรือการเปรียบเทียบก็ได้  ดังนั้นหน้าที่ของผู้อ่านคือ การแยกใจความสำคัญออกจากข้อความที่เป็นส่วนขยายใจความสำคัญออกมาให้ได้ 

            บันไดขั้นที่ 4  เติมคำเชื่อมส่วนขยายใจความสำคัญ  เพื่อตัดส่วนขยายใจความสำคัญทิ้ง  สามารถพิจารณาตัดส่วนขยายใจความสำคัญในย่อหน้าได้ง่าย  โดยสังเกตจากคำเชื่อมแสดงส่วนขยายใจความสำคัญ  หากทว่าในบางครั้งผู้เขียนอาจจะเรียบเรียงข้อความในย่อหน้าโดยไม่ใชคำเชื่อมก็ได้  ดังนั้นหากต้องการจะจับใจความสำคัญผู้เรียนจำเป็นต้องเติมคำเชื่อมส่วนขยายใจความสำคัญ  เพื่อตัดส่วนขยายใจความสำคัญทิ้ง  คำเชื่อมที่นิยมเติมในข้อความในย่อหน้า   กล่าวคือ เช่น จึง  เพราะ  เป็นต้น

         บันไดขั้นที่ 5  สังเกตคำหรือกลุ่มคำแสดงความขัดแย้งหรือตรงข้ามกันที่ปรากฎในย่อหน้า              คำหรือกลุ่มคำเป็นเครื่องเชื่อมความ คำหรือกลุ่มคำที่เป็นเครื่องเชื่อมในย่อหน้านั้นมีหลายลักษณะ  แต่มีคำหรือกลุ่มคำลักษณะหนึ่งที่ช่วยให้จับใจความสำคัญได้ง่ายขึ้น คือ คำหรือกลุ่มคำแสดงความขัดแข้งหรือตรงข้ามกัน เช่น แต่  ทว่า  แต่หาก  แต่ว่า  แต่ทว่า  อย่างไรก็ดี  ในทางตรงข้าม  ในทางกลับกัน ถึงแม้ ....แต่  เป็นต้น เพราะใจความสำคัญที่ผู้เขียนต้องการสื่อในย่อหน้านั้นอาจอยู่หลังคำหรือกลุ่มคำกล่าว

        บันไดขั้นที่ 6 หาใจความสำคัญได้ทุกบทอ่าน   ผู้เรียนสามารถสามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ทุกรูปแบบ สามารถนำเทคนิคการจัดการเรียนรู้บันได 6 ขั้น มาฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญได้

ประเด็นที่ 2 นวัตกรรมจากหลักการของหลักสูตรที่ใช้ในห้องเรียน


ประเด็นที่ 3 แนวทางการพัฒนาห้องเรียนของตนเองในภาคเรียนต่อไปโดยการใช้คำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล

         ในการจัดการเรียนการสอน  สิ่งที่จะต้องพัฒนาต่อไปคือ  ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ที่ครูเป็นเพียงแค่ผู้ให้  และนักเรียนรอรับอย่างเดียว  ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบชั่วคราว  หรือรู้จากการฟังที่ครูบอก  ครูอธิบาย  แต่ถ้าใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิดหรือชวนคิด  จะทำให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองออกมา  กล้าแสดงออก  และอาจจะได้แนวคิดใหม่ ๆ ในการสร้างนวัตกรรมต่อ ๆ ไป  ซึ่งจุดนี้เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ  ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอน  อันจะส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้  ได้ความรู้อย่างถาวร  เพราะเกิดจากการนักเรียนได้คิดและค้นพบด้วยตนเอง



Active Learning

ESL

Phonics

บทความอื่นๆ