ระบบย่อยอาหาร วิทยาศาสตร์ป.๖

กานติมา พลรักษ์
กานติมา พลรักษ์
97 ผู้ชม

แบบสรุปการพัฒนาห้องเรียนจากหลักสูตรการตั้งคำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒

ชื่อ – นามสกุล ครูกานติมา พลรักษ์    ชื่อแผนการเรียนรู้ ระบบย่อยอาหาร

สาระวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  โรงเรียนบ้านเกาะมุกด์

 

ประเด็นที่ ๑ คำอธิบายแผนการเรียนรู้

          แผนการเรียนรู้เรื่องระบบย่อยอาหาร จะกล่าวถึงอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร  หน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร และวิธีการดูแลระบบย่อยอาหารเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ

ประเด็นที่ ๒ นวัตกรรมจากหลักการของหลักสูตรที่ใช้ในห้องเรียนอย่างน้อย 1 ข้อ (คำถามไต่ระดับ / คำถามเชื่อมโยงเข้าสู่ความรู้ใหม่ / ห้องเรียนปลอดภัย / ประเภทของครู หรืออื่นๆ)

ให้ครูอธิบายคำถามที่ชวนเด็กคิดและสรุปคำตอบที่เด็กได้แต่ละระดับ

นวัตกรรมที่ใช้ คือ การถามคำถามไต่ระดับ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

๑.     วันนี้นักเรียนรับประทานอาหารเช้ากันหรือยัง รับประทานอะไรกันบ้าง

(แนวคำตอบ: ตามความคิดเห็นของนักเรียน)

๒.     อาหารที่นักเรียนรับประทานเข้าไปจะเข้าสู่ระบบใดของร่างกาย

(แนวคำตอบ: ระบบย่อยอาหาร)

๓.     นักเรียนคิดว่าอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร

(แนวคำตอบ: ปาก ลิ้น ฟัน หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับ ตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก)

๔.     นักเรียนคิดว่าอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารเป็นลำดับแรกคืออวัยวะใด

(แนวคำตอบ: ปาก)

๕.     เมื่อรับประทานข้าวสุก การย่อยอาหารเกิดขึ้นที่ปากหรือไม่ นักเรียนรู้ได้อย่างไร

(แนวคำตอบ: มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นที่ปาก รู้ได้จากเมื่อเคี้ยวข้าว เมล็ดข้าวสุกจะมีขนาดเล็กลง เหลว และมีรสชาติหวาน)

๖.     เมื่อปากกลืนอาหารลงไปจะถูกส่งต่อไปยังอวัยวะใด

(แนวคำตอบ: หลอดอาหาร)

๗.     หากมื้อเช้านักเรียนรับประทานข้าวเหนียวไก่ทอด นักเรียนคิดว่าจะเกิดกระบวนการย่อยอาหารที่อวัยวะใดบ้างตามลำดับ

(แนวคำตอบ: ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก)

๘.     นักเรียนคิดว่าหากกากอาหารค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราหรือไม่ อย่างไร

(แนวคำตอบ: ส่งผลกระทบ เนื่องจากกากอาหารที่ถูกดูดซึมแล้วจะมีลักษณะเหนียวข้น หากอยู่ในลำไส้ใหญ่นาน ๆ จะเกิดการสะสมและแข็งตัวทำให้อุจจาระได้ลำบาก)

ประเด็นที่ ๓ แนวทางการพัฒนาห้องเรียนของตนเองในภาคเรียนต่อไปโดยการใช้คำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล

๑.     จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คำถามไต่ระดับความคิดให้มากขึ้น และใช้คำถามที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดมากขึ้นกว่าเดิม

๒.     จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับรายวิชาอื่น

๓.     จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมให้มากขึ้น

๔.     จัดทำสื่อนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอนให้หลากหลายน่าสนใจ ดึงดูดผู้เรียน

ภาพประกอบการจัดกิจกรรมในห้องเรียน





บทความอื่นๆ