แบบสรุปการพัฒนาห้องเรียนจากหลักสูตรการตั้งคำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
ชื่อ - นามสกุล ครูพิชญาภา วัฒนศิลกุล ชื่อแผนการเรียนรู้ จับใจความบทอ่านเสริม มดดำ มดแดง
สาระวิชา ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนชุมชนบ้านช่องม้าเหลียว
ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แผนนี้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เป็นการวิเคราะห์เรื่องการพิจารณาส่วนต่าง ๆ ของเรื่อง ทั้งข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ส่วนดีและส่วนบกพร่องของเนื้อเรื่อง จุดประสงค์ของผู้แต่ง การสรุปแนวคิดที่ได้จากเรื่อง ซึ่งการอ่านเสริมบทเรียนเรื่อง มดดำ มดแดงนี้จะทำให้ได้รับทั้งความรู้และความบันเทิงแล้ว ยังสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
ประเด็นที่ 2 นวัตกรรมจากหลักการของหลักสูตรที่ใช้ในห้องเรียนอย่างน้อย 1 ข้อ (คำถามไต่ระดับ / คำถามเชื่อมโยงเข้าสู่ความรู้ใหม่ / ห้องเรียนปลอดภัย / ประเภทของครู หรืออื่นๆ) ให้ครูอธิบายคำถามที่ชวนเด็กคิดและสรุปคำตอบที่เด็กได้แต่ละระดับ
ใช้คำถามไต่ระดับความคิดของนักเรียน โดยมีคำถามที่ไต่ระดับความคิดของนักเรียน ดังนี้
- นักเรียนรู้จักมดไหม (แนวคำตอบ รู้จัก)
- นักเรียนรู้จักมดชนิดใดบ้าง ลักษณะเป็นอย่างไร (แนวคำตอบ มดดำ มดแดงและมดอื่น ๆ)
ครูติดรูปมดดำ และรูปมดแดงให้นักเรียนดู และถามนักเรียนว่าในรูปนักเรียนเรียกชื่อมดชนิดนี้ว่าอย่างไร (แนวคำตอบ มดดำ มดแดง) จากนั้นให้นักเรียนอ่านบทอ่านเสริมเรื่อง มดดำ มดแดง
- จากการอ่านบทอ่านเสริมรูปร่างลักษณะของมดดำกับมดแดงมีลักษณะอย่างไร (แนวคำตอบ มดดำ มีสีดำมีมันตลอดทั้งตัว ลำตัวยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มดแดง มีสีส้มหรือน้ำตาลปนแดงตลอดทั้งตัวตาเล็กสีน้ำตาลแก่ ลำตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร)
- ที่อยู่อาศัยของมดดำกับมดแดงเป็นอย่างไร (แนวคำตอบ มดดำ ทำรังอยู่บนต้นไม้ โดยเฉพาะตามซอกต้นไม้ ใบไม้และผลไม้ ส่วนมดแดง ทำรังที่ใบไม้โดยวิธีการห่อใบไม้เข้าด้วยกัน)
- การป้องกันตัวของมดดำและมดแดง ใช้วิธีการใด (แนวคำตอบ มดดำ ส่งกลิ่นฉุนออกมาเพื่อป้องกันตัว มดแดง ปล่อยกรดออกมาแล้วกัด ทำให้เกิดอาการคันและแสบร้อน)
- สรุปแล้วมดดำกับมดแดงมีความเหมือนกันหรือต่างกันที่ประเด็นใดบ้าง (แนวคำตอบ ต่างกันทั้ง รูปร่างลักษณะ ที่อยู่อาศัย การป้องกันตัว)
- ถ้านักเรียนเป็นมดนักเรียนอยากเป็นมดอะไร เพราะเหตุใด พร้อมทั้งวาดแผนภาพความคิดออกมาเป็นประเด็น
ประเด็นที่ 3 แนวทางการพัฒนาห้องเรียนของตนเองในภาคเรียนต่อไปโดยการใช้คำถามเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงเหตุผล
- จัดกิจกรรมให้มีการถามคิดมากขึ้น
- ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการคิดให้มากขึ้น