นันท์นภัส ปิ่นแจ้
ครู โรงเรียนบ้านห้วยกั้ง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
วิธีสอนแบบสาธิต เป็นรูปแบบของการที่ครูหรือนักเรียนคนใดคนหนึ่ง แสดงบางสิ่งบางอย่างให้นักเรียนดู หรือให้เพื่อนๆดู อาจเป็นการแสดงการใช้เครื่องมือแสดงให้เห็นกระบวนการวิธีการ การสอนวิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถทำในสิ่งนั้นได้ถูกต้อง และยังเป็นการสอนให้นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกต และถือว่าเป็นการได้ประสบการณ์ตรงวิธีหนึ่ง วิธีสอนแบบสาธิต จึงเป็นการสอนที่เน้นการปฎิบัติจริง เพราะผู้เรียนเป็นผู้วางแผน ดำเนินการ และลงมือปฏิบัติ วิธีสอนแบบนี้จึงเหมาะสำหรับ โดยการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ วิธีสอนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์โดยเฉพาะวิธีสอนทั่วไปนั้นเป็นวิธีสอนขั้นพื้นฐานที่ผู้เป็นครูจะต้องเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โดยหลักในการนําวิธีสอนไปใช้นั้นจะต้องนำไปใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิธีสอนอื่น ๆ ในการสอนโดยใช้การสาธิตมีจุดมุ่งหมาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน และมุ่งช่วยให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตาตนเอง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องหรือการปฏิบัตินั้นชัดเจนขึ้น นอกจากนี้การสาธิตยังช่วยอธิบายเนื้อหาวิชาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก ให้เข้าใจง่ายขึ้นและประหยัดเวลาโดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการ 2. ขั้นตอนการสาธิต 3. ขั้นสรุปและประเมินผล เพื่อจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการเรียนรู้เรื่องการวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมโดยใช้เครื่องชั่งสปริง
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จะมุ่งให้ผู้เรียนได้เรื่องรู้เกี่ยวการชั่ง
การเรียนหน่วยของการชั่ง กิโลกรัม ขีด และกรัม ที่เริ่มตั้งแต่จากน้ำหนัก 1
ขีด เท่ากับ 100 กรัม หรือ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 10 ขีด หรือ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1000 กรัม
และยังสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งที่ผู้เรียนแต่ละความสนใจในการชั่งน้ำหนัก
1. ขั้นตอนการเตรียมการสาธิต เป็นขั้นตอนการทำการสาธิต
ซึ่งครูควรเตรียมตัวดังนี้
ครูผู้สอนติดภาพเครื่องชั่งสปริงที่ไม่มีเข็มบนกระดาน
จากนั้น ครูถือภาพมะละกอ 1 ผลแล้วบอกว่า มะลอกอผลนี้หนัก 1 กิโลกรัม 8
ขีด ครูติดภาพมะละกอบนจานของเครื่องชั่ง ให้นักเรียนร่วมกันบอกว่า
เข็มของเครื่องชั่งควรจะชี้ที่ตัวเลขใดบนหน้าปัด (เลื่อนจากตัวเลข 1 มา 8ช่อง) ครูติดเข็มชี้ที่ตัวเลขบนหน้าปัดตามคำบอกของนักเรียน
ดำเนินกิจกรรมนี้อีกครั้ง โดยใช้ภาพทุเรียน หนัก 2 กิโลกรัม 4
ขีด ให้ผู้แทนนักเรียนออกมาติดเข็มของเครื่องชั่งตามคำบอกของเพื่อน
2.ขั้นสาธิต เมื่อครูเข้าสู่ชั้นเรียนแล้ว จึงดำเนินการสอนตามลำดับดังนี้
1.ครูให้นักเรียนชั่งน้ำหนักของผลไม้ตามฤดูกาลบนเครื่องชั่งสปริง
โดยครูจะเป็นผู้กำกับ ให้นักเรียนมาดูเข็มบนเครื่องชั่งสปริงทีละคนเพื่อให้นักเรียนมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
จากนั้น ครูถามคำถามกระตุ้นความคิดของนักเรียน ดังนี้
- เครื่องชั่งนี้มีทั้งหมดกี่ช่องใหญ่ (7 ช่องใหญ่)
- ใน 1 ช่องใหญ่ ประกอบด้วยช่องเล็ก ๆ กี่ช่อง
(10 ช่อง)
- ถ้าเข็มของเครื่องชั่งเคลื่อนที่ไป 1 ช่องใหญ่
อ่านน้ำหนักได้เท่าไร (1 กิโลกรัม)
- ถ้าเข็มของเครื่องชั่งเคลื่อนไป 1 ช่องเล็ก
อ่านน้ำหนักได้เท่าไร (1 ขีด)
- 1 ขีดมีน้ำหนักเท่าไร (100 กรัม)
- ดังนั้น น้ำหนัก 1 กิโลกรัม
เท่ากับน้ำหนักกี่กรัม (10 ขีด หรือ 1,000 กรัม)
2. ครูนำเผือก
ฝรั่ง ไปชั่งน้ำหนัก ให้ผู้แทนนักเรียนออกมาบอกว่าเข็มชี้อยู่ตำแหน่งใด
(เลื่อนจากตัวเลข 1 มา 3 ช่อง) แล้วให้นักเรียนร่วมกันบอกว่า เผือก
ฝรั่ง 1 ถุงหนักเท่าไร (1กิโลกรัม 300
กรัม) ครูเขียนคำตอบบนกระดาน แล้วร่วมกันตรวจสอบ
ความถูกต้อง
3. ครูนำสิ่งของมาชั่งบนเครื่องชั่ง
เช่น แอปเปิ้ล ฝัก มะละกอ เป็นต้น ให้ผู้แทนนักเรียน
ออกมาอ่านน้ำหนักและบอกว่าสิ่งของมีน้ำหนักเท่าไร
ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
3.ขั้นสรุปและวัดผล
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ดังนี้กรัม เป็นหน่วยการชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักเบา ส่วน กิโลกรัม เป็นหน่วยการชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้น
กิโลกรัมและกรัมเป็นหน่วยการชั่งที่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน
จากการสังเกตพบว่า นักเรียนสามารถบอกน้ำหนักของผลไม้ที่นักเรียนต้องการชั่งได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และยังสามารถแปลว่ากิโลกรัมเป็นขีด หรือจากขีดเป็นกรัมได้ และจากการตรวจแบบฝึกหัดของนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนมากมีความเข้าใจในเรื่องการชั่งได้ดี สามารถบอกน้ำหนักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อาจจะมีนักเรียนบางคนที่ยังพบความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการนักเรียนมองเข็มเครื่องชั่งไม่ตรงหน้าตราชั่งถึงเกิดความผิดพลาดเล็กน้อย
กล่าวโดยสรุป การสอนโดยใช้การสาธิตมีจุดเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนหลายประการ ซึ่งประมวลสรุปประเด็นที่น่าสนใจได้เป็นการสอนที่เพิ่มความเข้าใจของผู้เรียน
เนื่องจากได้เห็นกิจกรรมการสาธิตตามลำดับขั้นตอนและผู้เรียนจะจำเรื่องที่สาธิตได้ดีและนานเป็นวิธีการสอนที่ช่วยประหยัดเวลา
อุปกรณ์และค่าใช้จ่าย เป็นวิธีที่สามารถสอนผู้เรียนได้จำนวนมากสามารถใช้ผสมผสานกับวิธีสอนแบบต่างๆได้
เช่น เป็นการสอนที่เร้าใจผู้เรียน การสาธิตสามารถแสดงซ้ำตรงจุดใดจุดหนึ่ง
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแจ่มแจ้งในจุดที่ต้องการได้ ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้และเป็นการฝึกนักเรียนให้รู้จักสังเกต
หาเหตุผล และสรุปหลักเกณฑ์ได้