3 กิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (3 Effective Activities to Learn English Subject for Elementary School Students through Active Learning)

รัตนากร วงศ์ใหญ่
รัตนากร วงศ์ใหญ่
166 ผู้ชม

รัตนากร  วงศ์ใหญ่

โรงเรียนบ้านห้วยกั้ง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2


         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความหมายของ กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไว้ว่าเป็นรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนอย่างแท้จริง ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติผ่านการคิดวิเคราะห์ โดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ เป็นที่ปรึกษาและแนะนำแนวทางให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์ผลงานให้บรรลุเป้าหมายของการเป็นผู้เรียนที่มีสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้เหมาะสมตามวัยวุฒิของผู้เรียน ซึ่งกระบวนการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ถูกนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


         ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นเพียงภาษาที่ใช้สื่อสารเพียงเท่านั้น ยังเป็นภาษาที่ถูกใช้ในการศึกษาในระดับสูง เป็นภาษาหลักที่ใช้นการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลในโลกออนไลน์ การรู้จักภาษาอังกฤษจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น และด้วยภาษาอังกฤษจัดเป็นรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นรายวิชาที่นักเรียนไทยต้องใช้ความพยายามและความเข้าใจในการเริ่มเรียนรู้ใหม่ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน (Beginner) ที่ต้องเริ่มต้นศึกษาพื้นฐานของภาษาอังกฤษ เช่น การเรียนรู้เสียงต่าง ๆ ของภาษา คำศัพท์พื้นฐาน และโครงสร้างประโยคอย่างง่าย โดยสุดท้ายแล้วเป้าหมายของการเรียนภาษาอังกฤษ คือ การที่ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง สร้างโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ได้มากขึ้นผ่านภาษาสากลของโลก และสามารถสื่อสารกับผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในชีวิตประจำวันได้


          จากประสบการณ์ของการเป็นผู้สอนภาษา ในรายวิชาภาษาอังกฤษพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนได้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ ครูผู้สอนต้องมีเทคนิคหรือแสวงหากิจกรรมที่หลากหลายมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหารายวิชา คำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาและขีดจำกัดในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เขียนได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา โดยยึดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน พบว่า สามารถส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมรรถนะการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มี 3 รูปแบบ ดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้เกม (Game-Based Learning)

             การใช้เกมเป็นสื่อกลางการเรียนรู้ในห้องเรียนภาษา โดยผู้สอนจะต้องเลือกรูปแบบของเกมให้เหมาะสมกับวัยและเนื้อหาบทเรียน เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านความสนุกได้เป็นอย่างดี และกิจกรรมการใช้เกมในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษมีหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้คำศัพท์ด้วยเกมจับคู่บัตรคำ (Flashcards) การทบทวนคำศัพท์ด้วยเกมจระเข้ผู้หิวโหย (The hungry crocodile) การเรียนรู้โครงสร้างประโยคด้วยเกมแต่งประโยคจากบัตรคำ (Grammar cards


ตัวอย่างการนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในชั้นเรียน



2. กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)

                  การแสดงบทบาทของผู้เรียนในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ผู้เรียนจะได้รับบทบาทและแสดงเป็นตัวละครหรือบทบาทที่ต้องการให้สื่อสารหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ในบทบาทนั้น ๆ โดยเน้นการจำลองสถานการณ์ที่จะพบเห็นในชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์ที่ต้องการให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะทางการสื่อสาร  เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะการสื่อสาร การเข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อหาบทเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ ได้แก่ การแสดงท่าทางของสัตว์เพื่อทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ (Animals) การสวมบทบาทเป็นตัวละครในบทเรียนเพื่อเรียนรู้บทสนทนาภาษาอังกฤษ (Conversation) การสวมบทบาทเป็นตัวละครในนิทาน (Dialogue) การร้องเพลงพร้อมทำท่าทางประกอบเพื่อเล่าเรื่อง (Song that tells a story) เป็นต้น


ตัวอย่างการนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในชั้นเรียน



3. กิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share)

         เป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เกิดการคิดหาคำตอบด้วยตนเอง ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 3-5 นาที (Pair) และกระตุ้นให้ผู้เรียนหาข้อสรุปร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นระบบ (Share) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เนื่องจากผู้เรียนต้องคิดเอง และมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจลึกซึ้งและมีความหมายมากขึ้น ยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิดในรายวิชาภาษาอังกฤษ ได้แก่ 

- กิจกรรมอ่านตัวอย่าง (Pair Dictation) คือ กิจกรรมที่ผู้เรียนจะฝึกทักษะการฟังและเขียนเป็นคู่ ตามประเด็นที่ครูผู้สอนกำหนด
โดยแต่ละคู่จะต้องเขียนเติมคำศัพท์ที่หายไปลงในบทความหรือประโยคด้วยการอ่านให้คู่ของตนเองฟัง และนำเสนอบทความหรือประโยคที่สมบูรณ์    ให้กับเพื่อนในชั้นเรียน
กิจกรรมเติมกล่องข้อความ (Speech Bubble) คือ กิจกรรมที่ใช้ทบทวนเนื้อหาบทสนทนา โดยครูผู้สอนกำหนดภาพจำลองเหตุการณ์
ให้กับผู้เรียนแต่ละคู่ โดยแต่ละคู่จะได้ภาพที่ต่างกัน แต่ยังมีในเนื้อหาบทเรียนเดียวกัน ให้เติมคำศัพท์หรือข้อความบทสนทนาที่หายไปให้สัมพันธ์กันเหตุการณ์ในภาพ และนำเสนอภาพที่สมบูรณ์หน้าชั้นเรียน 

ตัวอย่างสถานการณ์การซื้อ-ขายอาหารใน Supermarket

A: Do you want a __________? (ชื่ออาหารตามรูปภาพ)

                  B: Yes, please.


ตัวอย่างการนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในชั้นเรียน




การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียนและรายวิชา เป็นประเด็นที่ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญ 

เพราะกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้เป็นหนึ่งในสื่อกลางที่จะช่วยให้การเรียนการสอนเกิดผลลัพธ์

ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ได้มากน้อยเพียงใด

ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ครูผู้สอนเป็นผู้เลือกและดำเนินการจัดการเรียนการรู้ให้กับผู้เรียน

"กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)"

เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับในระบบการศึกษา และถูกใช้อย่างแพร่หลายในทุกสาขาวิชา

เนื่องด้วยวงการศึกษาให้การนิยามกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ว่าเป็น...

 กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ -

การจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้เชิงรุก

Active Learning

วิชาภาษาอังกฤษ

บทความอื่นๆ