การพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

วารีรัตน์ สติราษฎร์
วารีรัตน์ สติราษฎร์
378 ผู้ชม

การพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning

เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

นางสาววารีรัตน์ สติราษฎร์1*  และนางสุทธิรดา เจริญพิทยา2*

 1*กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 พะเยา

*Corresponding Author E-mail Address : [email protected]

บทสรุป

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษา          ให้มีคุณภาพตามหลักสูตรและตรงตามความมุ่งหวังของสังคม โดยกำหนดการดำเนินงานพัฒนาบุคลากร 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน ผ่านแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา “3 มิติ 8 จุดเน้น” ครอบคลุม มิติที่ 1 การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษา จุดเน้นที่ 1 การนิเทศภายใน และจุดเน้นที่ 2 การบริหารจัดการโดยใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มิติที่ 2 การพัฒนาคุณภาพครู จุดเน้นที่ 1 การพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ และจุดเน้นที่ 2 การน้อมนำศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ                 (รู้ รัก สามัคคี พอเพียง มีส่วนร่วม) และมิติที่ 3 การพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐาน จุดเน้นที่ 1 ความสามารถด้านภาษาและการคิดคำนวณ            จุดเน้นที่ 2 การรู้และเข้าใจเทคโนโลยีจุดเน้นที่ 3 การคิดและแก้ปัญหา และจุดเน้นที่ 4 การมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ

                     ผู้ศึกษาดำเนินการงานพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 จึงได้จัดทำการพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การพัฒนาทักษะและสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 โรง ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตการดำเนินการครอบคลุม 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การพัฒนาองค์ความรู้ด้าน            การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21ตามตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทางหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551          (ฉบับปรับปรุง 2560) 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะและสมรรถนะตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้            ตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3) นิเทศติดตามด้านการจัดการเรียนรู้ด้าน          การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา

วิธีการดำเนินงาน

ดำเนินพัฒนาภายใต้กระบวนการพัฒนาโดยใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA  ผ่านโครงการ/กิจกรรมภายใต้กลยุทธ์ ซึ่งดำเนินการโดยใช้กระบวนการ ดำเนินการ ดังนี้

1)      ประชุมประสานแผนงานจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาตามนโยบายและจุดเน้น

2)      ดำเนินพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายตามกิจกรรมในโครงการ จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจ พาคิด พาทำ นำสู่การใช้ โดยมีลักษณะกิจกรรมเป็นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ  กลุ่มเป้าหมาย ครูผู้สอนโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 40 คน กรอบเนื้อหาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทางหลักสูตรแกนกลางการศึกษา    ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเพื่อนคู่คิดพาคิด พาทำ นำสู่การใช้ ระดับห้องเรียน โดยดำเนินการ จัดกลุ่ม PLC ตรวจสอบความก้าวหน้าจากกิจกรรม         การอบรมเชิงปฏิบัติการต่อยอดพัฒนาจากกิจกรรมที่ 1 ด้านการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปใช้)

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมนิเทศติดตาม สะท้อนคิด  โดยดำเนินการนิเทศติดตามโดยใช้กระบวนการ Lesson Study ระดับห้องเรียนของครูกลุ่มเป้าหมาย โดยดำเนินการขั้น Plan พิจารณาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (แผน   การจัดการเรียนรู้แนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนจากการพัฒนาในกิจกรรม    ที่ 2 สู่ขั้น Do การนำแผนไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับชั้นเรียน และแลกเปลี่ยน      เติมเต็มสะท้อนผลเพื่อนำสู่การพัฒนาต่อยอดในขั้น See

ผลการดำเนินงาน (ระยะที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 3)

เชิงปริมาณ 1) ร้อยละ 100 ของครูผู้สอนโรงเรียนในโครงการพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูผู้สอนตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การพัฒนาทักษะและสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)

     2) ร้อยละ 100 ครูผู้สอนโรงเรียนในในโครงการพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูผู้สอนตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะในการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของผู้เรียนตามตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)

เชิงคุณภาพ  1) ครูผู้สอนโรงเรียนในโครงการพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูผู้สอนตามแนวทาง Active Learning       

เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การพัฒนาทักษะและสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551    (ฉบับปรับปรุง 2560)  

            2) ครูผู้สอนโรงเรียนในในโครงการพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูผู้สอนตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของ  ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะในการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning เพื่อพัฒนาสมารรถนะสำคัญของ  ผู้เรียนตามตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)


ข้อเสนอแนะ

ควรส่งเสริมสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งด้านการขับเคลื่อนพัฒนาให้ครูผู้สอนครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียนในสังกัดเพื่อเตรียมรับการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2567 - 2571) (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ตามที่ระบุในส่วนของมาตรฐานที่ 1 ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 1.1 ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรฯ และมาตรฐานที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 3.1 การออกแบบหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

 

การจัดการเรียนรู้

สมรรถนะผู้เรียน

การเรียนรู้เชิงรุก

Active Learning

บทความอื่นๆ