ถอดรหัสการหนุนเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน

สกาวรัตน์ ไกรมาก
สกาวรัตน์ ไกรมาก
1,075 ผู้ชม

        ถอดรหัสการหนุนเสริมการจัดการเรียนรู้ Active Learning เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน


สกาวรัตน์  ไกรมาก

ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2


         ผู้เขียนได้ถอดรหัสการหนุนเสริมในหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ Active Learning เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ
ผู้เรียน โครงการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ของสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครูและสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 (พ.ศ. 2565 – 2567) 
ซึ่งได้ร่วมมือและต่อยอดการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 4 ป ได้แก่ ประทับใจ ปฏิบัติ ปัญหาอุปสรรค และเปลี่ยนแปลง ในบทบาทของศึกษานิเทศก์ที่เข้าไปหนุนเสริมในลักษณะของการเป็นพี่เลี้ยง นิเทศ ติดตาม และช่วยเหลือครู เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในการส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ ซึ่งได้นิยามศัพท์ไว้ว่า สมรรถนะ หมายถึง ผลรวมของความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะและความสามารถ
อื่น ๆ ที่ช่วยให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลประสบความสำเร็จในการทำงาน โดยการพัฒนาสมรรถนะทั้ง
6 สมรรถนะ ได้แก่ การจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และการอยู่รวมกับธรรมชาติและวิทยาการที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ได้เชื่อมโยงสู่การพัฒนาสมรรถนะทั้ง 5 สมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่ การสื่อสาร การคิด ทักษะชีวิต การแก้ปัญหาและการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยี โดยการทำงานนี้มีความเชื่อที่ว่า “ถ้าครูสามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้จะนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนได้” ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้มีครูเป็นผู้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน มีศึกษานิเทศก์เป็นผู้หนุนเสริม ด้วยการให้ความช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม ให้กำลังใจ เป็นที่ปรึกษา สนับสนุนเทคนิค วิธีการ และช่องทางการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมรรถนะการเรียนรู้ได้ ผู้เขียนจึงได้ถอดบทเรียนเพื่อสะท้อนผลการทำงาน ตาม 4 ป ดังนี้

        ป ประทับใจ จา กการที่ได้ร่วมโครงการ และเข้าไปหนุนเสริมครู ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้เขียนมีความประทับใจการหนุนเสริมของตนเองที่ส่งผลให้ครูได้เป็นครูห้องเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้แบบ active Learning เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ จนได้รับคัดเลือกให้ได้รับโล่รางวัลและเป็นห้องเรียนต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นดีให้กับห้องเรียนอื่น ๆ การหนุนเสริมของศึกษานิเทศก์ยังช่วยให้ครูเกิดการพัฒนาจนครูสามารถสอนนักเรียนแล้วเกิดสมรรถนะการเรียนรู้และยิ่งน่าประทับใจเมื่อครูที่เราเข้าไปหนุนเสริมสามารถพัฒนาตนเองจนได้รับการพัฒนาวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษโดยมีช่วงของคะแนนที่ได้รับจากการประเมินตั้งแต่ 80 – 92.5 ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ที่สูง ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับโล่รางวัลจาก กสศ. ศึกษานิเทศก์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และได้ทุนต่อยอดการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง  


 

         ป ปฏิบัติ การปฏิบัติการหนุนเสริมของศึกษานิเทศก์ มีเทคนิควิธีการที่เข้าไปหนุนเสริมครู ให้ครูประสบความสำเร็จ โดยใช้หลักการปฏิบัติแบบ Win Win Situation เป็นการทำงานแบบร่วมมือ สร้างความเชื่อมั่น
ให้กับผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในการได้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน โดยครูนั้นจะได้พัฒนาตนเอง มีศึกษานิเทศก์เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสังเกตชั้นเรียนและสะท้อนคิดเพื่อนำสู่การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ นอกจากนั้น การหนุนเสริมได้ช่วยให้ครูได้พัฒนาตนเอง นำสู่การพัฒนาวิทยฐานะแบบ PA ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ผู้เขียนได้นำหลักการหนุนเสริมแบบเปิดช่องทางการเรียนรู้ใหม่ โดยการส่งเสริมให้ครูมีภาวะผู้นำ เปิดใจ เปิดห้องเรียนให้ครูอื่น ๆ ได้มาเรียนรู้และสะท้อนผลการทำงาน ตลอดจนการหนุนเสริมให้เกิดการเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่ได้เข้ามาสังเกตการสอน เข้าสะท้อนผลการทำงานเป็นระยะ และหลักการหนุนเสริมด้วยการพัฒนาห้องเรียนทั้งระบบโรงเรียน โดยการทำงานแบบร่วมมือกับ
ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการรับรู้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุน เพราะการมีผู้บริหารสถานศึกษาให้การสนับสนุนจะช่วยส่งผลให้ครูทำงานได้ตามนโยบาย มีการทำงานเป็นทีม ไม่โดดเดี่ยว เกิดการพัฒนาทั้งระบบโรงเรียน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่เร็วขึ้น ครูได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่


        ป ปัญหาอุปสรรค อย่างไรก็ตามการทำงานก็ยังคงพบปัญหาอุปสรรคในระยะแรก ๆ ของการพัฒนา เนื่องจากการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้นับเป็นเรื่องใหม่ มีหน่วยงานที่ทำน้อย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูจึงต้องเรียนรู้ ศึกษาเอกสารให้มาก และต้องฝึกลงมือในการคิด เขียน ลงมือปฏิบัติในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะ ต้องวิเคราะห์ตัวชี้วัดและออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้  และการวัดผลการเรียนรู้ ซึ่งต้องอาศัยเวลา การได้ทดลองฝึกทำ การมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยจึงทำให้การทำงานได้ชัดเจนและเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ โ

        ป เปลี่ยนแปลง การหนุนเสริมของศึกษานิเทศก์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งผู้หนุนเสริมและครู โดยศึกษานิเทศก์ผู้หนุนเสริมเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การได้ความรู้ใหม่ ๆ จากการที่ได้ผ่านการอบรมพัฒนา การอ่าน ศึกษาเอกสารและจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลสมรรถนะสำคัญ ทั้ง 6 สมรรถนะของ กสศ. และ 5 สมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตลอดจนตัวชี้วัดต่าง ๆ และเทคนิควิธีการในการหนุนเสริมครูในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการใช้เทคนิค Lesson study  การ Coaching การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การสะท้อนบทเรียน (Feedback) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการทำงาน และการหนุนเสริมช่วยให้ครูเกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนโดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจนทั้งตัวมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมที่มีเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ เช่น Quiz Game Word wall กิจกรรม คู่ และกลุ่ม กิจกรรม Survey Form การใช้กระดาน Padlet ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสะท้อนความคิดความรู้สึก เป็นต้น ครูได้พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลสมรรถนะการเรียนรู้ ครูมีเพื่อนร่วมคิด มีเครือข่ายการพัฒนาร่วมกัน ครูเปิดใจ เปิดรับการสะท้อนผลจากผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนครูเพื่อนำสู่การพัฒนา เกิดกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และครูได้รับอานิสงส์จากการทำงาน ได้แก่ การได้รับรางวัลการประกวดแผนการจัดการเรียนรู้ การได้รับโล่รางวัลในเวที
ต่าง ๆ ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาคและประเทศ 


การเรียนรู้เชิงรุก

บทความอื่นๆ