KIDS KNOCK KALA : คิดนอกกะลา

สุภัสสร นวลกุล
สุภัสสร นวลกุล
258 ผู้ชม

การพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบ

โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ The LAUNCH Cycle

เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

นำสิ่งที่ผู้เรียนสนใจมาเป็นประเด็นการเรียนรู้ บูรณาการในกิจกรรมโครงการ

นวัตกรรมเพื่อชุมชน (CIP : Community Innovation Project)

และดำเนินการจัดกิจกรรมตาม

กระบวนการจัดการเรียนรู้ The LAUNCH Cycle

ในแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง KIDS KNOCK KALA  

ซึ่งมีโครงสร้างระยะเวลาการดำเนินการตามแผนไว้ทั้งหมด 10 ชั่วโมง

กระบวนการจัดการเรียนรู้ The LAUNCH Cycle เป็น“Framework”

ที่จัดทำโดย John Spencer และ A.J. Juliani

เผยแพร่โดย Starfish Academy 

ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 : L (Look, Listen, and Learn) 

ประเมินทักษะความคิดผู้เรียน โดยใช้ Spider gram และเริ่มสำรวจสภาพปัญหารอบตัว












ขั้นที่ 2 : A (Ask Tons of Questions)

พูดคุยประเด็นปัญหาที่ผู้เรียนค้นพบ โดยผู้สอนจะใช้คำถามจุดประกายความอยากรู้ให้กับเด็ก

จะต้องถามคำถามเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด

เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของปัญหานั้น ๆ


ขั้นที่ 3 : U (Understanding the Process or Problem) 

 สรุปประเด็นปัญหาที่จะเรียนรู้ ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกระบวนการและปัญหา

โดยการศึกษาจากประสบการณ์จริง

เช่น การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง การสังเกต หรือการสืบค้นทางเทคโนโลยี และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน


ขั้นที่ 4 : N (Navigate Ideas)

ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหา โดยผู้เรียนที่มีวิธีการคล้ายคลึงกัน

จะรวมกลุ่มเพื่อหาข้อมูลการแก้ไขปัญหาสำรองไว้มากกว่า 2 วิธี

จากนั้นจะต้องร่วมมือกันเขียนแผน โดยการใช้ Fila Mapping 

ในการวางแผนการแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างนวัตกรรม

เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ไปเขียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง KIDS KNOCK KALA



ขั้นที่ 5 : C (Create a Prototype)

เป็นขั้นตอนในการลงมือสร้างสรรค์นวัตกรรมการแก้ปัญหาที่ได้ออกแบบไว้

ในรูปแบบของนวัตกรรมจริงหรือแบบจำลองก็ได้ อาจจะเป็นงานดิจิทัล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ

หรือผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ อย่างเช่น งานศิลปะ

งานที่สร้างขึ้นจากการออกแบบของผู้เรียน หรืออาจจะเป็นงานระบบต่าง ๆ เป็นต้น



ขั้นที่ 6 : H (Highlight and Fix)

 ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลงาน และประเมินตนเอง โดย Spider Gram

เพื่อสังเกตพัฒนาการของตนเอง จุดเด่นและจุดด้อย

ประเด็นที่สำคัญคือผลงานของตนสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน

อะไรคือสิ่งที่ได้ผล และอะไรที่ไม่ได้ผล

รวมถึงให้คะแนนผลงานและความสำเร็จในการทำงานของตนเองด้วย


ขั้นที่ 7 : Launch to an Audience

การนำเสนอผลงาน และการทดลองนำไปใช้ โดยผู้เรียนจะอธิบายตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงเป้าหมาย

มีความประทับใจใดบ้าง อุปสรรคหรือสิ่งที่ควรพัฒนาปรับปรุงอะไรบ้าง

รวมถึงการเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นได้รับชมด้วย

บทความอื่นๆ