เสียงเพลงจากขวดแก้ว โดย ว่าที่ร.ต.กันตภณ เดโชศาสตร์ สาระวิชาดนตรี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

กันตภณ   เดโชศาสตร์
กันตภณ เดโชศาสตร์
1,129 ผู้ชม

     ในชุมชนปากแจ่มและโรงเรียนมีการใช้ขวดแก้วในกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน  งานรื่นเริงต่างๆ ซึ่งขวดแก้วได้ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าหลากหลายประเภท  ตัวอย่างเช่น  เหล้า  เบียร์  น้ำอัดลม  เครื่องดื่ม   ซอสปรุงรสต่างๆ  รวมถึงสินค้าประเภทของเหลวต่างๆ  ซึ่งหลักจากการใช้งานเสร็จขวดแก้วเหล่านี้ได้ถูกทิ้งกลายเป็นขยะ  ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายและทำลายสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากขวดแก้วเหล่านี้ชำรุด  ไม่มีการนำมาแปรรูปหรือการเพิ่มมูลค่าขึ้นในชุมชน  ซึ่งทำได้เพียงแค่นำมาขายเป็นของเก่าเท่านั้น  ดังนั้นนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคุ้ยจึงคิดร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อนำขวดแก้วในโรงอาหารที่เหลือใช้จากแม่ครัวมาทำประโยชน์ในการเรียนรู้  โดยจุดประกายความคิดขึ้นจากการที่เคยเห็นเวลาในชุมชนมีการสังสรรค์จะมีการเอาขวดมาเคาะประกอบจังหวะร่วมกับการร้องเพลง  จึงได้เกิดแนวคิดที่จะทำอย่างไรที่จะทำให้ขวดแก้วมาเคาะเป็นจังหวะดนตรีได้  จึงได้ทำการคิดค้นศึกษาวิธีการทำให้การเคาะขวดเกิดเป็นทำนอง  โดยการนำน้ำมาเติมลงไปในขวดเพื่อให้เกิดเสียง 

    การนำน้ำในปริมาณที่ต่างกันมาเติมในขวดชนิดเดียวกันหรือขวดต่างชนิดกันแล้วสังเกตุโดยการเคาะแล้วฟังเสียง  ปรากฏว่าได้เสียงที่ต่างกัน  ร่วมกับนักเรียนมีพื้นฐานการเล่นดนตรี และอยู่ในวงดนตรีของโรงเรียนจึงทำให้นักเรียนสามารถเทียบเสียงที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดีโดยเทียบเสียงกับเสียงของเครื่องดนตรีและนำเครื่องจูนเนอร์ที่ใช้จูนเสียงเครื่องดนตรีมาวัดระดับเสียงของน้ำที่เติมลงไปในขวดแก้วเพื่อให้ได้เสียงโน้ตเพลงที่มีค่าเป็นมาตรฐาน  

     การเทียบมาตรฐานกับค่าระดับความถี่เสียงของดนตรีไทย  และค่าระดับความถี่เสียงของดนตรีสากล  ซึ่งทั้ง  2  ประเภทนี้จะมีระดับความถี่ของเสียงมาตรฐานที่แตกต่างกัน  จนเกิดเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเสียงเพลงจากขวดแก้ว  ซึ่งใช้หลักการบูรณาการหว่าง 8 กลุ่มสาระวิชา  ได้แก่  วิชาดนตรี  สังคม วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพ  คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  สุขศึกษา ซึ่งจะได้เสียงของโน้ตในระดับต่างๆ  มาเรียงกัน  สามารถบรรเลงเป็นเพลงหรือนำมารวมเล่นกับวงดนตรีได้

  • ขั้นตอนที่  1 ประเมินระดับความคิดของผู้เรียนในการเรียนรู้
  • นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดเด่น  จุดด้อย  ของสิ่งต่างๆ  สถานที่  ภูมิปัญญา  ศิลปวัฒนธรรมที่ทีมีอยู่ในตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง  เพื่อหาแนวทางมาพัฒนาและแก้ปัญหา
  •           -  ทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนรายบุคคล
  •           -  ครูใช้คำถามกระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียน 
  •           - นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยการสุ่มจับไข่หรรษา ประกอบเพลง Chicken Dance และแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม ได้แก่ ประธาน กรรมการ เลขานุการ
  •           -  นักเรียนดูวีดีโอแนวทางกรณีศึกษา  https://www.youtube.com/watch?v=DgZyPq_B4zg   ปฏิบัติการลุก ปลุก เปลี่ยน 4 ตอน ปากแจ่ม...มีดีกว่าเหมืองหินร่วมกันอภิปรายในหัวข้อที่กำหนด  แล้วตั้งประเด็นคำถาม
  •           -  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มเกี่ยว  “หัวข้อปากแจ่มนั้นมีอะไร”  ตามที่ได้รับมอบหมาย แล้วแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน
  •           -  ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายกลุ่มของตนเองหน้าชั้นเรียน และวิพากษ์ร่วมกัน
  •           -  ปรับแก้ไข/เพิ่มเติมผลงานตามที่วิพากษ์ให้สมบูรณ์ ตัวแทนกลุ่มนำผลงานของกลุ่มที่เติมเต็มสมบูรณ์แล้วไปติดข้างห้องเพื่อให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
  •           - นักเรียนร่วมกันสรุปในหัวข้อในหัวข้อที่กำหนด

  • ขั้นตอนที่  2 การคิดประเด็นการเรียนรู้จากแรงบัลดาลใจ
  • นักเรียนร่วมกันคิดปัญหา คือ  ตำบลปากแจ่มมีสถานที่ท่องเที่ยว  สถานที่สำคัญ  ภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมเป็นจุดเด่น  แต่ยังขาดวิถีการนำเสนอด้วยวิธีการอย่างหลากหลาย  นอกจากนั้นยังในบ้านเรือน  ชุมชน  สถานที่ท่องเที่ยว  มีขยะที่เป็นขวดแก้วทิ้งอยู่เกลื่อนกลาด  จึงจำเป็นต้องการแก้ปัญหาเหล่านี้  โดยการนำขวดแก้วมาทำเป็นเครื่องดนตรีขวดแก้วประกอบกับการแต่งเพลงเล่าเรื่องราวของตำบลปากแจ่มให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น 
  •           - นักเรียนศึกษาและสังเกตลักษะการใช้ขวดแก้วในโรงเรียนและชุมชนปากแจ่ม จากนั้นร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาขยะจากขวดแก้ว แล้วตอบคำถาม
  •           - ลักษณะประเภทของขวดแก้ว
  •           - นักเรียนวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่
  •           - ลักษณะการใช้ขวดแก้วเป็นอย่างไร
  •           - วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับขวดแก้ว
  •           - นักเรียนดูคลิป  “พวกขวดเหล้า ขวดเบียร์ยังไงให้ได้เงินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม”
  •          - ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการใช้ขวดแก้ว
  •          - ครูตั้งคำถามให้นักเรียนวิพากษ์ 
  •          - “นักเรียนจะสามารถช่วยนำขวดแก้วที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์อย่างไร”
  • ครูให้นักเรียนดูคลิป https://www.youtube.com/watch?v=_vMXUqaDJHM “847 เศษแก้วสร้างมูลค่า รู้ค่าพลังงาน 30 เม.ย. 6”
  •          - ครูตั้งคำถามให้นักเรียนวิพากษ์ 
  •          - นักเรียนทำใบงาน  ‘ตามหาขวดแก้ว’
  •          - ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป

  • ขั้นตอนที่  3 วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน
  • นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากขั้นตอนที่  2  การคิดประเด็นการเรียนรู้จากแรงบัลดาลใจ  สรุปเป็นองค์ความรู้เขียน
  •          FiLa  mapping  ตามหัวข้อดังนี้
  •          Fact  ที่มา  การอนุรักษ์ธรรมชาติโดยการใช้ขวดแก้วเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
  •          Learning  Issue  ทำอย่างไรให้ขวดแก้วนำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าและเป็นสื่อในการเรียนรู้
  •          Innovative  Ideas  การนำขวดแก้วที่อยู่ตามครัวเรือน  ชุมชน  มาสร้างสรรค์เป็นเสียงดนตรีและร่วมบรรเลงเพลง
  •                  - แบ่งกลุ่มนักเรียน
  •           - นักเรียนสนทนาและสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมจากขวดแก้ว ใช้คำถามนำว่า “เราจะใช้ขวดแก้ววิธีการใดได้บ้าง” และกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น ที่แสดงถึงความหลากหลาย (ความรู้) 5 นาที 

  • * เหตุผล ครูใช้กิจกรรมนี้ เพื่อสำรวจความพร้อมของนักเรียน โดยให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ และเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ 
  •              -  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดประเด็นการเรียนรู้ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้เขียน FiLa mapping   

  • ขั้นตอนที่ 4 จัดการเรียนรู้ลงมือทำ
  • นักเรียนออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมมีชื่อว่า   : เสียงเพลงจากขวดแก้ว
  • เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร  ไม่ทำลายธรรมชาติ  จากนั้นร่วมกันแต่งเพลง  : ปากแจ่มบ้านเรา
  • นักเรียนร่วมกันหาขวดแก้วที่ใช้แล้วมาทำความสะอาดแล้วทำการทดลองโดยการเติมน้ำลงไปในขวดแล้ววัดระดับเสียง  ทำให้เกิดระดับเสียงโน้ตดนตรีที่ต้องการขึ้นมาสามารถสร้างสรรค์บทเพลงต่างๆได้

  • วัสดุอุปกรณ์
  •           1. ขวดแก้ว
  •           2. น้ำ
  •           3. ผ้า
  •           4. เครื่องจูนเนอร์
  •           5. ไม้มาร์ชชิ่งเบล หรือช้อน
  •           6. ผ้าเทป
  •           7. ไม้บรรทัด
  •           8. ปากกาเคมี
  •           9. ปากกา
  •          10. ราวเหล็ก
  •          11. เชือก
  •          12. กรรไกรหรือมีด





ขั้นตอนการดำเนินการ
โดยมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้
  1. นำขวดที่เหลือใช้มาล้างทำความสะอาด  โดยการไปหาขวดชนิดต่างๆที่เหลือใช้จากชุมชนหรือโรงเรียนมาแล้วล้างทำความสะอา
  2. หลังจากล้างขวดเสร็จ  ให้นำผ้ามาเช็ดมาเช็ดขวดให้แห้งขวดให้แห้งเพื่อสะดวกแก่การทดลอง
  3. นำน้ำเปล่ามาเติมในขวดแก้วที่เราเตรียมไว้จนได้ตามปริมาณที่ต้องการ
  4. ทำการเคาะขวดเทียบเสียงโน้ตโดยการใช้เครื่องจูนเนอร์สำหรับเทียบเสียงโดยใช้ระดับความถี่เสียงที่  440 Hz  สำหรับใช้บรรเลงกับวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ   ใช้ระดับความถี่เสียงที่  430 Hz  สำหรับใช้บรรเลงกับวงดนตรีไทย
  5. ติดเทประบุระดับน้ำที่ขวดที่เราเติมน้ำไว้แล้วเพื่อทำสัญลักษณ์
  6. เขียนชื่อโน้ตติดที่ขวด
  7. วัดระดับน้ำแล้วจดบันทึก
  8. นำเชือกมาผูกที่ปากขวด
  9. นำเสียงโน้ตที่ได้มาเรียงเสียงระดับสูงต่ำ
  10. นำขวดที่มีเสียงโน้ตไปแขวนบนราวแขวน
  11. ไล่เสียง  บรรเลงเพลงเพื่อเช็คความถูกต้องของระดับเสียง





ขั้นตอนที่  5 นักเรียนประเมินตนเองสะท้อนความคิดกับสิ่งที่ทำ  
     - นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเรียนการสอนจากการลงมือทำร่วมกันทั้งหมดว่าได้อะไรบ้าง  เกิดประโยชน์อะไรขึ้นบ้างกับตนเองและผู้อื่น
     - ครูให้กำลังใจ  แนะนำ  ชมเชย  ประเมินจากการสังเกตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 

ขั้นตอนที่  6  พัฒนาต่อยอด
     - นำมาบรรเลงเพลงกับวงดนตรีไทยหรือวงดนตรีสากล  
     - สร้างสรรค์เครื่องดนตรีชิ้นจากสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน
     - นำวัสดุเหลือใช้อย่างอื่นมาพัฒนาให้เป็นเครื่องดนตรีที่หลากหลาย


                                


                                 

ดนตรี

เสียงเพลง

บทความอื่นๆ