ห้องเรียนหยุด Cyberbullying “รวมพลังความคิด Stop Cyberbullying สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี”

ทรรศธร สงอุปการ
ทรรศธร สงอุปการ
952 ผู้ชม

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ห้องเรียนหยุด Cyberbullying โดยครูพี ทรรศธร สงอุปการ ครูผู้สอนรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล Digital Citizens “รวมพลังความคิด Stop Cyberbullying สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี”  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหัวไทร(เรือนประชาบาล) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก (Phenomenal Based Learning :IP2) มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินระดับการคิดผู้เรียน นักเรียนร่วมตอบคำถามกระตุ้นความคิดและสร้างความตระหนักรู้ เกี่ยวกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ Cyberbully การกลั่นแกล้ง คุกคามหรือระรานผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก เพื่อประเมินประสบการณ์และแนวทางการรับมือ การแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ของนักเรียน นักเรียนเข้าเล่นเกมวัดความ Bully ในตัวคุณ ผ่านเว็บไซต์ https://thematter.co/justcyberbully/ เพื่อวัดระดับและประเมินความ Bully ในตัวของนักเรียน ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักคิดให้แก่นักเรียน 

                                                


ขั้นตอนที่ 2 การกระตุ้นความตระหนักและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ นักเรียนร่วมกันระดมสมองอภิปรายปัญหาในประเด็น “ปัญหาการ Cyberbullying ภายในโรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล)” และประเด็น “แนวทางแก้ปัญหา Cyberbullying ที่เพิ่มสูงขึ้น นักเรียนชมสถานการณ์หรือประสบการณ์โลก จากวิดีโอเรื่อง Cyberbullying เป็นเรื่องปกติหรอ ? ตามลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=Y4ZNTc-LV7o ซึ่งนำไปสู่การสร้างประสบการณ์เพื่อให้นักเรียนได้ค้นพบปัญหาจากคลิปวิดีโอและสถานการณ์ Cyberbullying ในสังคมไทยและสังคมโลกจาก 6 เหตุการณ์สะเทือนใจ!! จากภัย Cyberbullying ที่นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ และร่วมกันอภิปรายปัญหา สาเหตุ การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนได้เห็นความสำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก Cyberbullying ในสังคมไทยและสังคมโลก

                                   


ขั้นตอนที่ 3 วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการสำรวจข้อมูลเรื่องปัญหาการ Cyberbullying ของนักเรียนภายในโรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) ดำเนินการสำรวจและสรุปเป็นองค์ความรู้ โดยเขียน FILA mapping  ประกอบด้วย  

Fact  ที่มาข้อมูล “ปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ Cyberbullying ที่เพิ่มสูงขึ้น”

Learning Issue ทำอย่างไรจะช่วยให้แก้ปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ Cyberbullyingที่เพิ่มสูงขึ้น

Innovative Ideas   การสร้างนวัตกรรม สื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์/รณรงค์การลดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ Cyberbullying ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้รู้ทันมีภูมิคุ้มกันการกลั่นแกล้ง คุกคาม หรือระรานผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบนโลกออนไลน์

Action Plan แผนการดำเนินงาน/แผนปฏิบัติ
นักเรียน
นำเสนอผลงาน หน้าชั้นเรียน FILA mapping และวิพากษ์ร่วมกัน


                           


ขั้นตอนที่ เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง นักเรียนศึกษาการจัดทำสื่อในรูปแบบอินโฟกราฟิก โดยใช้ Application Canva ที่นักเรียนสนใจ จัดทำตามเนื้อหารณรงค์ต่อต้านCyberbullyingภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียนและนักเรียนแต่ละกลุ่มได้สร้างสรรค์คลิปวิดีโอในการนำเสนอแนวทางการหยุดไซเบอร์ Stop Cyberbullying พร้อมทั้งเตรียมผลงานเผยแพร่ตามช่องทางต่าง ๆ อาทิ รณรงค์เปิดบ้านกิจกรรมให้ความรู้และวิธีการรับ เรื่อง Cyberbullying แก่พี่ ๆ น้อง ๆ และเพื่อน ๆ ภายในและภายนอกโรงเรียน ,กลุ่ม Line ,Facebook และTokTik เป็นต้น


                            



ขั้นตอนที่ 5 ผู้เรียนประเมินตนเอง  นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียน หลังจากที่กระบวนการทำงานแล้วเสร็จ นักเรียนได้ประเมินผลงานนวัตกรรมของตนเอง ประเมินการทำงานร่วมกับผู้อื่น ประเมินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพื่อสะท้อนผล พัฒนา แก้ไขและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และ นักเรียนเข้าเล่นเกมวัดความ Bully ในตัวคุณ ผ่านเว็บไซต์ https://thematter.co/justcyberbully/  เพื่อตรวจสอบความ Bully ในตัวของนักเรียนว่าอยู่ในระดับใด เมื่อผ่านการเรียนรู้มาแล้ว


ขั้นตอนที่ 6 คิดต่อยอดองค์ความรู้ นักเรียนนำองค์ความรู้จากการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล Digital Citizens Stop Cyberbullying” นำผลงานนวัตกรรมที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเผยแพร่กับเพื่อน ๆ น้อง ๆ และคณะครูในโรงเรียนหัวไทร(เรือนประชาบาล) ผ่านกิจกรรมเปิดห้องเรียน Cyberbullying พร้อมทั้งเผยแพร่สื่อรณรงค์ผ่านชองทาง ,กลุ่ม Line ,Facebook และTokTik เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกคนในเรื่องของการหยุดปัญหา Cyberbullying ที่เพิ่มสู้ขึ้น พร้อมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม พร้อมไปสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี (สร้างภูมิกันที่ดีในตนเอง สู่การเป็นพลเมืองที่ดีทั้งสังคมโลกและสังคมดิจิทัล) จากนวัตกรรมที่นักเรียนได้สร้างสรรค์ ในภาคเรียนถัดไปนักเรียนจะพัฒนาชิ้นงานให้มีความหลากหลาย อาทิ สร้างสื่อวิดีโอรณรงค์ สร้างเกม Stop Cyberbullying เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และออกแบบอินโฟรกราฟิกแบบ 3มิติ เป็นต้น

                             


ผลงานอินโฟรกราฟิกสร้างสรรค์  Stop Cyberbullying”


                                        


สื่อการสอน  หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล Digital Citizens “รวมพลังความคิด Stop Cyberbullying สู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี”

                                                          


                                                                 

การจัดการเรียนรู้

ประสบการณ์โลก

การเรียนรู้เชิงรุก

Active Learning

วิทยาการคำนวณ

เทคโนโลยี

Cyberbullying

พลเมืองดิจิทัลที่ดี

โรงเรียนหัวไทร(เรือนประชาบาล)

บทความอื่นๆ