ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้
นักเรียนรู้จักการรักษาความสะอาดมีหลายวิธี
อีกวิธีหนึ่งที่สำคัญคือการคัดแยกขยะเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
ประเด็นที่ 2
สรุปรายละเอียดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่
1: การประเมินระดับการคิดนักเรียนในการเรียนรู้
1.1 ทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนรายบุคคล
1.2 นักเรียนช่วยกันสำรวจใต้โต๊ะของตนเองว่ามีขยะอะไรบ้าง และจากนั้นช่วยกันหาคำตอบเรื่องถ้ามีขยะในบริเวณโรงเรียนจะเป็นอย่างไร
ขั้นตอนที่
2: การกระตุ้นความตระหนักและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
2.1 นักเรียนชมวีดีทัศน์ เรื่องโฆษณาไทยประกันชีวิต 2015 Garbage Man จากนั้นร่วมกันตอบคำถามดังนี้
- บุคคลในวีดีทัศน์ทำอะไร
- การกระทำของบุคคลในวีดีทัศน์ส่งผลดีอย่างไร
- ถ้านักเรียนเป็นบุคคลในวีดีทัศน์จะทำอย่างไร
2.2 นักเรียนมีวิธีการจัดการขยะอย่างไรบ้าง
2.3 นักเรียนอาสาสมัครมาช่วยกันติดรูปฝาถังขยะสีต่างๆบนกระดาน
และนักเรียนลองคิดว่าถังขยะสีไหน ประเภทใดบ้าง พร้อมติดแถบประโยคประกอบดังนี้
- สำหรับขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
- สำหรับขยะที่ย่อยสลายได้
- สำหรับขยะอันตราย
- สำหรับขยะทั่วไปที่นำกลับมาใช้อีกไม่ได้
2.4 นักเรียนรับบัตรคำขยะ
และนำบัตรคำที่ได้รับมาคัดแยกขยะให้ถูกต้องตามสีของถังขยะ จากนั้นร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของการทิ้งขยะ
2.5 นักเรียนร่วมกันบอกประโยชน์ของการคัดแยกขยะ
2.6 นักเรียนร่วมกันอภิปรายปัญหาที่เกิดจากขยะ จากนั้นเขียนสรุปเป็นแผนผังความคิด ลงในกระดาษ A4
ขั้นตอนที่
3: วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน
3.1
นักเรียนแบ่งกลุ่ม
3.2 ครูสนทนาและสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่ช่วยจัดการขยะ ใช้คำถามนำว่า “เราจะช่วยกันลดขยะโดยใช้วิธีการใดได้บ้าง”
และกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น ที่แสดงถึงความหลากหลาย (ความรู้) 5 นาที
3.3
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดประเด็นการเรียนรู้ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้เขียน FiLa
mapping ตามหัวข้อดังนี้
Fact ที่มา “ขยะในโรงเรียนมีจำนวนมาก”
Learning
Issue ทำอย่างไรจะช่วยให้ขยะลดลง
Innovative
Ideas - การสร้างสื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์/รณรงค์
ในการคัดแยกขยะ
-
นวัตกรรมในการจัดการขยะ
Action Plan แผนการดำเนินงาน
1)
ศึกษาสำรวจบริเวณโรงเรียน
-
ตั้งคำถามประเด็นที่ต้องการเรียนรู้
2)
สืบเสาะรวบรวมข้อมูลหาคำตอบในประเด็นที่ต้องการเรียนวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลข้อมูลที่รวบรวม
3)
เลือกวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา/จัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหา
4)
วางแผนทำงานตามลำดับ
5)
ระดมสมองออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา
6)
นักเรียนทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ร่วมวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งที่ออกแบบ
7-8)
ปฏิบัติ ทดลอง ประดิษฐ์
9) ตรวจสอบประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
10) ปรับปรุงแก้ไข
11) เผยแพร่พัฒนาต่อยอด
3.4 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายกลุ่มหน้าชั้นเรียน และวิพากษ์ร่วมกัน
3.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติม โดยแนะนำผู้เชี่ยวชาญที่นักเรียนสามารถสอบถามหาความรู้ในการสร้างนวัตกรรมได้ และเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เพื่อสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผนไว้
ขั้นตอนที่
4: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง
4.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มตามกลุ่มเดิม
4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ โดยมีครูคอยกระตุ้น
ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษา
4.3 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอนวัตกรรมที่สร้างขึ้น
4.4 นักเรียน ร่วมวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งที่ออกแบบ โดยมีคุณครูคอยให้คำแนะนำ
4.5 นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำ
4.6
นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำนวัตกรรมการคัดแยกขยะ
4.7 นักเรียนนำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่ได้ ไปปรึกษาคุณครู
4.8 นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำของคุณครู
4.9 นักเรียนร่วมกันนำเสนอผลงาน
ขั้นตอนที่
5: ผู้เรียนประเมินตนเอง
5.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มตามกลุ่มเดิม
5.2 นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเรียนการสอนที่ผ่านมาทั้งหมดว่าได้ความรู้อะไรบ้าง
และ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นมากน้อยเพียงใด
5.3
ครูและนักเรียนร่วมกันเชื่อมโยงผลการจากทำโครงงานกับสถานการณ์โลกกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5.4
ตัวแทนนักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.5 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป
ขั้นตอนที่ 6: คิดต่อยอดองค์ความรู้
6.1 นักเรียนนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น
โดยการประชาสัมพันธ์ลงสื่อโซเชียล
6.2 ทดสอบหลังเรียนของนักเรียนรายบุคคล
6.3 นักเรียนต่อยอดโดยการทำชิ้นงาน เพื่อหารายได้ระหว่างเรียนและนำไปประกอบอาชีพได้