ขยะจัดการได้

ปิยานุช  แต่สกุล
ปิยานุช แต่สกุล
341 ผู้ชม


ขั้นตอนที่ 3 วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน

ครูสนทนาและสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่ช่วยจัดการขยะ ใช้คำถามนำว่า “เราจะช่วยกันลดขยะโดยใช้วิธีการใดได้บ้าง” และกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น ที่แสดงถึงความหลากหลาย

นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดประเด็นการเรียนรู้ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้เขียน FiLa mapping   ตามหัวข้อดังนี้

Fact                   ที่มา ขยะในโรงเรียนมีจำนวนมาก”

Learning Issue     ทำอย่างไรจะช่วยให้ขยะลดลง

Innovative Ideas       การสร้างสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์จากขยะ

Action Plan        ผู้เรียนศึกษาสำรวจบริเวณโรงเรียน และตั้งคำถามประเด็นที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับขยะ ผู้เรียนร่วมกันสืบเสาะ รวบรวมข้อมูล และวางแผนการทำงานเพื่อหาคำตอบในประเด็นที่ต้องการ



ขั้นตอนที่ 4 จัดการเรียนรู้ลงมือทำ

นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ โดยมีครูคอยกระตุ้น ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษา ตัวแทนกลุ่มนำเสนอนวัตกรรมที่สร้างขึ้น นักเรียน ร่วมวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งที่ออกแบบ โดยมีคุณครูคอยให้คำแนะนำ นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำ

นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำนวัตกรรมการคัดแยกขยะ โดยทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น กระเป๋าใส่ดินสอ แฟ้มใส่เอกสาร กระเป๋าใส่เหรียญ เป็นต้น





ขั้นตอนที่ 5 นักเรียนประเมินตนเอง  

นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเรียนการสอนที่ผ่านมาทั้งหมดว่าได้ความรู้อะไรบ้าง และ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นมากน้อยเพียงใด

ขั้นตอนที่ 6 คิดต่อยอดองค์ความรู้

นักเรียนนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ลงสื่อโซเชียล Facebook เพื่อให้เพื่อนๆในโรงเรียนเห็นคุณค่าของขยะ และมีความตระหนักถึงการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี เพื่อช่วยกันลดปริมาณขยะ และสามารถจัดการขยะได้ง่ายขึ้น


บทความอื่นๆ