ชื่อ
– นามสกุลครู นางสาวจารินี
สมันหลี
ชื่อแผนการเรียนรู้
ทิ้งขยะลงถัง
เพิ่มพลังให้ชุมชน
สาระวิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
4
โรงเรียนบ้านโคกยาง
แบบสรุปการพัฒนาห้องเรียนจากหลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก
(IP2)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง
เขต 2
ประเด็นที่ 1 คำอธิบายแผนการเรียนรู้
นักเรียนเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รู้จักการทิ้งขยะ
คัดแยกขยะ การจัดการขยะอย่างถูกวิธี การลดปริมาณขยะ การนำขยะมาออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน
ประเด็นที่ 2
สรุปรายละเอียดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1: การประเมินระดับการคิดผู้เรียน
1.1 ครูนำภาพถ่ายสภาพแวดล้อมในโรงเรียนบ้านโคกยาง
และภาพถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชนบ้านโคกยาง ซึ่งเป็นพื้นที่ในท้องถิ่นของนักเรียน
ให้นักเรียนดู และร่วมกันอภิปรายสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ในโรงเรียนและในชุมชน
ในหัวข้อ “ลักษณะทางกายภาพของชุมชนบ้านโคกยาง” เพื่อหาเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
การจัดการเรียนการสอน
การประเมินระดับการคิดนักเรียนในการเรียนรู้
โดยมีประเด็น ดังนี้
•
ลักษณะภูมิประเทศ
•
ลักษณะภูมิอากาศ
•
ป่าไม้หรือพืชพรรณที่พบ
•
สัตว์ที่พบ
1.2 ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน และให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ลงสำรวจพื้นที่ตามสถานที่ที่ได้รับมอบหมาย และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ใน โรงเรียนและในชุมชนบ้านโคกยาง ในกระดาษปรู๊ฟ ตามประเด็นที่กำหนด
1.3
ครูให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายกลุ่ม หน้าชั้นเรียน และวิพากษ์ร่วมกัน
1.4
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปในหัวข้อ “ลักษณะทางกายภาพของชุมชนบ้านโคกยาง”
1.5 ทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนรายบุคคล
ขั้นตอนที่ 2: การกระตุ้นความตระหนักและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
2.2
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นกับแม่น้ำลำคลองในไทย
2.3
ครูตั้งคำถามให้นักเรียนวิพากษ์ “ในฐานะที่นักเรียนเรียนเป็นลูกหลาน
ในชุมชนบ้านโคกยางนักเรียนจะสามารถช่วยให้ เกิดความยั่งยืนของแม่น้ำได้อย่างไร
2.4 ครูให้นักเรียนดูคลิป https://www.youtube.com/live/ASKWC3NA2RQ?feature=share “ปัญหาบ่อขยะล้น อำเภอเมืองตรัง”
2.5 ครูตั้งคำถามให้นักเรียนวิพากษ์ “ในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกยาง ประเด็นเร่งด่วนที่ นักเรียนคิดว่าต้องรีบแก้ไขคืออะไร”
ขั้นตอนที่
2 การคิดประเด็นการเรียนรู้จากแรงบันดาลใจ ประเด็นเร่งด่วนที่นักเรียนคิดว่าต้องรีบทำคือ
การลดปริมาณขยะ การส่งกลิ่นเหม็นของขยะ การปล่อยน้ำเน่าเสีย ลงสู่แม่น้ำ
ขั้นตอนที่ 3: วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน
นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 การคิดประเด็น
การเรียนรู้จากแรงบันดาลใจ สรุปเป็นองค์ความรู้เขียน
**FiLa mapping ตามหัวข้อดังนี้
**Fact ที่มา “ภาพลักษณ์ที่ไม่น่ามอง
จากการทิ้งขยะไม่ลงถัง การส่งกลิ่นเหม็นของขยะ ไม่มีการคัดแยกขยะ”
**Learning Issue ทำอย่างไรจะช่วยลดปริมาณขยะ
ในโรงเรียน และในชุมชน โดยใช้หลัก 3Rs , Reuse ,Reduce,
Recycle ปลูกจิตสำนึกในทิ้งขยะ
**Innovative Ideas การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ การประดิษฐ์เป็นของใช้ต่างๆ
ขั้นตอนที่ 4: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง
นักเรียนออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมมีชื่อว่า “ สิ่งประดิษฐ์รีไซเคิล” เพื่อลดปริมาณขยะ ”
สร้างชิ้นงาน
นักเรียนประดิษฐ์นวัตกรรมสร้างเป็นชิ้นงาน ศึกษาจาก คลิป วีดีโอ Youtube
เรื่อง https://youtu.be/VLie6yhAZQ8
ลดและคัดแยกขยะ
เรื่อง https://youtu.be/vaoZWLzYbj0
การประดิษฐ์สิ่งของจากขยะพลาสติก
ขั้นตอนที่ 5: ผู้เรียนประเมินตนเอง
สะท้อนคิดกับสิ่งที่ทำ
(ทำอะไร ผลอย่างไร)
นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเรียนการสอนที่ ผ่านมาทั้งหมดว่าได้ความรู้อะไรบ้าง และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นมากน้อย เพียงใด
ครูให้กำลังใจ ชมเชย การประเมินความคิดเห็นจากผู้ปกครอง ครู และเพื่อนๆ
ขั้นตอนที่ 6: คิดต่อยอดองค์ความรู้
นำความรู้สู่ชุมชน – นักเรียนนำประสบการณ์ความรู้ที่ตัวเองได้จากการเรียนรู้มาถ่ายทอดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ รณรงค์การลดขยะ ในการปลูกจิตสำนึกและมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน