ชื่อ – นามสกุลครู นางสาวภัทราภรณ์
ถิ่นพันธ์
ชื่อแผนการเรียนรู้ จัดการดี ชีวีมีสุข
สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกมลศรี
แบบสรุปการพัฒนาห้องเรียนจากหลักสูตรโครงงานนวัตกรรมจากประสบการณ์โลก
(IP2)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง
เขต 2
ประเด็นที่
1
คำอธิบายแผนการเรียนรู้
การรักษาความสะอาดมีหลายวิธี อีกวิธีหนึ่งที่สำคัญคือการคัดแยกขยะเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน นักเรียนสามารถบอกวิธีการรักษาความสะอาดภายในโรงเรียน และสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะของโรงเรียน และสามารถนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้
ประเด็นที่
2 สรุปรายละเอียดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1: การประเมินระดับการคิดผู้เรียน
1.1
ทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนรายบุคคล โดยใช้แบบทดสอบปรนัย 4
ตัวเลือก ผลคะแนนทดสอบก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 5.14
1.2
นักเรียนช่วยกันสำรวจใต้โต๊ะของตนเองว่ามีขยะอะไรบ้าง และจากนั้นช่วยกันหาคำตอบเรื่องถ้ามีขยะในโต๊ะจะเป็นอย่างไร
ผลจากการสำรวจขยะใต้โต๊ะของนักเรียนพบว่ามีขยะอยู่ใต้โต๊ะ เช่น เศษกระดาษ เปลือกขนม ขวดน้ำ เศษสี เศษดินสอ เป็นต้น หลังจากนั้นนักเรียนร่วมกันหาคำตอบเรื่องถ้ามีขยะใต้โต๊ะจะเป็นอย่างไรบ้าง จะทำให้โต๊ะสกปรก ไม่สะอาด ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้เห็นถึงความสำคัญของขยะ และคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรกับขยะเหล่านี้
ขั้นตอนที่ 2: การกระตุ้นความตระหนักและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
2.1 นักเรียนชมวีดิทัศน์ เรื่องโฆษณาไทยประกันชีวิต 2015 Garbage Man จากนั้นร่วมกันตอบคำถามดังนี้
- บุคคลในวีดิทัศน์ทำอะไร
- การกระทำของบุคคลในวีดิทัศน์ส่งผลดีอย่างไร
- ถ้านักเรียนเป็นบุคคลในวีดิทัศน์จะทำอย่างไร
2.2 นักเรียนมีวิธีการจัดการขยะอย่างไรบ้าง
2.3 นักเรียนอาสาสมัครมาช่วยกันติดรูปฝาถังขยะสีต่างๆบนกระดาน
และนักเรียนลองคิดว่าถังขยะสีไหน ประเภทใดบ้าง พร้อมติดแถบประโยคประกอบดังนี้
- สำหรับขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
- สำหรับขยะที่ย่อยสลายได้
- สำหรับขยะอันตราย
- สำหรับขยะทั่วไปที่นำกลับมาใช้อีกไม่ได้
2.4 นักเรียนรับบัตรคำขยะ
และนำบัตรคำที่ได้รับมาคัดแยกขยะให้ถูกต้องตามสีของถังขยะ
จากนั้นร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของการทิ้งขยะ
2.5 นักเรียนร่วมกันบอกประโยชน์ของการคัดแยกขยะ
2.6 นักเรียนร่วมกันอภิปรายปัญหาที่เกิดจากขยะ จากนั้นเขียนสรุปเป็นแผนผังความคิด ลงในกระดาษ A4
ขั้นตอนที่ 3: วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน
3.1
นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ
3.2 นักเรียนร่วมกันสนทนาในประเด็นเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ
(ขวดน้ำ) โดยครูใช้คำถามนำว่า “เราจะช่วยกันลดขยะ (ขวดน้ำ) โดยใช้วิธีการใดได้บ้าง”
3.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดประเด็นการเรียนรู้ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้เขียน Fila mapping ตามประเด็นหัวข้อที่กำหนด
3.4
ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน และเพื่อนในชั้นเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
3.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้พิ่มเติม ในการสร้างนวัตกรรม และการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผน
ขั้นตอนที่ 4: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง
4.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มเดิมตามแผนจัดการเรียนรู้ขั้นตอนที่ 3
4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ได้วางแผนไว้
โดยมีครูคอยกระตุ้น ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษา
4.3
ตัวแทนกลุ่มนำเสนอนวัตกรรมที่สร้างขึ้น
4.4 นักเรียน
ร่วมวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งที่ออกแบบ โดยมีคุณครูคอยให้คำแนะนำ
4.5 นักเรียนปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมตามคำแนะนำ
ขั้นตอนที่ 5: ผู้เรียนประเมินตนเอง
5.1
นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมว่าได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร โดยการเขียนสรุปแผนผังความคิด
5.2 นักเรียนร่วมกันทำแบบประเมินตนเอง โดยใช้เครื่องมือแบบประเมินผลงานนักเรียน
ขั้นตอนที่ 6: คิดต่อยอดองค์ความรู้
6.1
นักเรียนนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่ได้คิดค้นขึ้นมา ซึ่งผลงานของนักเรียนจะประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
โดยการนำขวดน้ำมาทำเป็นที่ใส่ของ กระถางต้นไม้ โมบาย
6.2
นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
6.3 นักเรียนคิดต่อยอดโดยการทำชิ้นงานและปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้มีความน่าสนใจมากขึ้น และสามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะได้