ชุมชนตำบลปากแจ่ม
ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ
และประเพณีวัฒนธรรม จึงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมความงามทางธรรมชาติ
แต่มีวัสดุธรรมชาติ เปลือกไม้ ใบไม้จำนวนมากที่เป็นขยะธรรมชาติ ไม่มีคุณค่า ทับถมมากจะกลายเป็นขยะมองไม่สวยงามสำหรับนักท่องเที่ยว นักเรียนจึงคิดค้นหาวิธีการในการลดปริมาณและเพิ่มมูลค่าให้กับขยะธรรมชาติด้วยวิธีการที่จะนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเรียน
โดยการนำวัสดุธรรมชาติ เศษขยะ
หรือเศษวัสดุในท้องถิ่น มาสร้างชิ้นงาน
สร้างผลิตภัณฑ์ ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชมจึงเป็นที่มาของ โครงงาน เปลือกไม้เล่าเรื่อง
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินระดับการคิดผู้เรียน
:
ใช้กิจกรรม กิจกรรมเช็คอินที่นี้ ของดีปากแจ่ม เพื่อกระตุ้นความคิดนักเรียนโดยเริ่มจากการทดสอบระดับความคิดเบื้องต้น ให้ นักเรียนดูภาพถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ของพื้นที่บ้านปากแจ่ม ตำบลปากแจ่ม อำเภอ ห้วยยอด จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ในท้องถิ่นของนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนและร่วมกันอภิปรายสิ่งแวดล้อมทางกายภาพชุมชน ในหัวข้อ “ปากแจ่มมีดีอะไร” เพื่อหาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นบ้านปากแจ่ม โดยมีประเด็น ดังนี้ ลักษณะภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต
ขั้นตอนที่
2ประเด็นปัญหาจากแรงบันดาลใจ: ใช้กิจกรรมแรลลี่ของดีปากแจ่ม
1 นำนักเรียนลงสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชนตนเอง สำรวจประเด็นปัญหา
โดยให้นักเรียนออกมานำเสนอบนกระดานตามที่ได้ออกไปสำรวจและสอบถามจากผู้ปกครอง
2ครูให้นักเรียนดูคลิป “ กิจกรรมนักอนุรักษ์ธรรมชาติ”
“ในฐานะที่นักเรียนเป็นลูกหลานชาวปากแจ่มในพื้นที่ปากแจ่ม
นักเรียนจะสามารถช่วยให้สร้างความยั่งยืนให้กับกับแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนได้อย่างไร”ครูตั้งคำถามให้นักเรียนวิพากษ์
“ในพื้นที่บ้านปากแจ่ม
ประเด็นเร่งด่วนที่นักเรียนคิดว่าต้องรีบแก้ไขหรือส่งเสริมให้ดีขึ้นคืออะไร”
-
ขยะจากธรรมชาติทำลายทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว
- ให้นักเรียนสำรวจขยะธรรมชาติเช่น กาบหมาก ใบไม้ เปลือกไม้ ใบมะขาม
ขั้นตอนที่ 3: วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน
: กิจกรรมจิ๋วแจ๋วยอดนักสืบ
ให้แต่ละกลุ่มได้วางแผนการเรียนรู้ของกลุ่มตนเองตามความสนใจ
กลุ่มที่ 1 เศษผ้าของการทำผ้าบาติกกลายเป็นขยะ
กลุ่มที่ 2การนำวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไปมาประดิษฐ์เป็นหมวก
กลุ่มที่ 3 การนำวัสดุเหลือใช้
วัสดุจากธรรมชาติ
มาใช้เป็นสื่อทำหนังสือทำมือถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนผ่านหนังสือทำมือ
กลุ่มที่ 4 ใบมะขามสร้างภาพ
นำประเด็นปัญหามาวางแผนจัดกิจกรรม ขยะจากธรรมชาติทำลายทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว
ขั้นตอนที่
4: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง: เข้าค่ายสร้างนวัตกรรม
เปลือกไม้เล่าเรื่อง
อุปกรณ์ที่ใช้ : ปืนกาว กรรไกร กระดาษแข็ง มีดคัตเตอร์
วัสดุที่ใช้: เปลือกไม้ กาบหมาก ใบไม้แห้ง กลีบดอกไม้
วัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น
ขั้นตอนการทำ
1
นำนักเรียนเข้าค่ายอบรมการให้ความรู้การสร้างนวัตกรรมแก่นักเรียนโดยเริ่มจากให้นักเรียนศึกษาหลักทฤษฎี
หลักการออกแบบองค์ประกอบศิลป์ ฝึกปฏิบัติผ่านใบงานและคู่มือการสร้างภาพปะติด
2
การค้นคว้าเรื่องราวของชุมชนปากแจ่มที่จะนำมาเสนอผ่านเรื่องราว
เป็นตัวละละคร ออกแบบตัวละคร ศึกษาและการคัดเลือกและการหาวัสดุ
ธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ได้
3
ลงมือปฏิบัติ
3.1 วางแผนจัดทำเป็นจัดทำสตอรรี่บอร์ด ร่างแบบตัวละครตามเรื่องราวตามที่ออกแบบไว้
3.2 ตัดตัวละครตามที่ออกแบบ( จะวาดหรือใช้แบบร่างก้อได้ตามถนัด)
3.3 จัดทำร่างแบบฉากหลัง
หรือภาพพื้นหลังที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักของภาพ (สร้างตามที่ออกแบบไว้)
ถือเป็นฉากทัศนียภาพใช้ประกอบเรื่องราวและเนื้อหาที่กำหนดแบบไว้ เช่นน้ำตก ต้นไม้
ภูเขา ทุ่งนาฯลฯ ให้กำหนดระยะใกล้ ไกล
ตามหลักการจัดภาพขององค์ประกอบศิลป์
3.4 นำตัวละคร/ชิ้นงานที่ตัดมาติดตามแบบ/วัสดุสำหรับจัดวาง
นำมาตากแต่งตามที่ได้ออกแบบตามเรื่องราวที่กำหนด
3.5 สร้างความคงทนให้ภาพโดยการเคลือบแล็คเกอร์
ขั้นตอนที่
5: ผู้เรียนประเมินตนเอง
ถอดบทเรียนเปลี่ยนชีวิต
1 นักเรียนร่วมกันถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชิ้นงานที่ 2 ถอดบทเรียน เปลี่ยนชีวิต
ขั้นตอนที่ 6: คิดต่อยอดองค์ความรู้
-
นักเรียนนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น โดยการจัดนิทรรศการในหัวข้อ “เปลือกไม้เล่าเรื่อง”
- นักเรียนต่อยอดโดยการทำชิ้นงานและปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อจำหน่ายหารายได้ระหว่างเรียนและนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต