หลักสูตรจิตศึกษาพัฒนากับการพัฒนาสมองส่วนหน้า คือ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาภายใน ซึ่งเป็นกระบวนเรียนรู้ทั้งครูและผู้เรียนเพื่อให้เกิดความงอกงามด้านใน หรือ ปัญญาภายใน เช่น การรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตนเอง (รู้ตัว) การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ เคารพในความแตกต่างของกันและกัน การมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย การมีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุดหรือไปต่อกับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ การมีสัมมาสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการทำภาระงานให้ลุล่วง มีความอดทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่ การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายมีความหมายและการอยู่ด้วยกันอย่างภราดรภาพ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจนวัตกรรมจิตศึกษา ทั้งหลักการและวิธีการที่ช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF และเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและสามารถออกแบบสนามพลังบวก จิตวิทยาเชิงบวก และกิจกรรมจิตศึกษา เพื่อการพัฒนาทักษะสมอง EF ลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ ประกอบด้วย การบรรยายและสนทนา กิจกรรมกลุ่มย่อย และ กิจกรรมสะท้อนคิด ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ การบรรยายและสนทนา ในประเด็นเนื้อหา ทำไมต้องจิตศึกษา จิตศึกษาคืออะไร จิตศึกษาทางานอย่างไร? จิตศึกษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ Self ต่างๆ และทักษะสมอง EF อย่างไร / การจัดการสนามพลังบวกเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF / การจัดการสนามพลังบวกเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF จิตวิทยาเชิงบวก เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ Self ต่างๆ และ ทักษะสมอง EF อย่างไร? / กิจกรรมจิตศึกษากับเป้าหมาย 3 ระดับ ที่เกี่ยวข้องกับ Prefrontal cortex การตัดสินใจเชิงจริยธรรม และการเข้าใจความจริงในเชิงนามธรรม Self ต่างๆ และทักษะสมอง EF / กิจกรรมจิตศึกษากับเป้าหมาย 3 ระดับ ที่เกี่ยวข้องกับ Prefrontal cortex การตัดสินใจเชิงจริยธรรม และการเข้าใจความจริงในเชิงนามธรรม Self ต่างๆ และทักษะสมอง EF กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย การฝึกสติเพื่อเข้าใจสภาวะรู้อาการทางกาย และสภาวะภายในตนกับการทางานของ primary somatosensory cortex และ insular lobe / ฝึกวิเคราะห์สนามพลังที่เป็นอยู่ทั้งสิ่งที่เกื้อหนุนและสิ่งที่ลดทอน และ ระดมความคิด หา Idea เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อม วิถีแนวปฏิบัติของการสร้างสนามพลังบวก / ฝึกวิเคราะห์สภาพที่เป็นอยู่ ทั้งการใช้จิตวิทยาเชิงบวก-เชิงลบแบบไม่รู้ตัว วิเคราะห์ เคสตัวอย่าง และ ออกแบบการใช้จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อพัฒนา self ต่างๆ และทักษะสมอง EF / วิเคราะห์ แผนการจัดกิจกรรม กลุ่มละ 3 แผน ว่าแต่ละขั้นตอนกิจกรรมได้กระตุ้นทักษะสมอง EF ด้านใด และควรปรับหรือเพิ่มเติมตรงไหนให้แผนนั้นดียิ่งขึ้น เลือก 1 แผนของแต่ละกลุ่มนาเสนอห้องรวม / เตรียมสภาวจิต ด้วยการกิจกรรม Brain Gym เพื่อฝึกสติผ่านการเคลื่อนไหวกายและสภาวะรู้อาการทางกาย primary motor และ primary somatosensory cortex / วิเคราะห์ สะท้อน ปรับปรุงแผนของกันและกัน เลือก 1 แผนเพื่อนาเสนอ แนวทางการวัดและประเมินผล ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ครบกระบวนการทั้งสองวันตามที่หลักสูตรกำหนด ผู้เข้าอบรม AAR ตนเองถึงความเข้าใจนวัตกรรมจิตศึกษา ในการพัฒนาทักษะสมอง EF จนนำไปสู่การปรับใช้กับผู้เรียน ผู้เข้าอบรมออกแบบแผนการจัดกิจกรรมจิตศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF ได้ กล่าวโดยสรุปหลักสูตรจิตศึกษาพัฒนากับการพัฒนาสมองส่วนหน้า (ปัญญาภายใน และทักษะสมอง EF) เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการก่อรูปของปัญญาภายในขึ้น เช่น รู้ตัวไวหรือการมีสติ ผู้เรียนสามารถกลับมารู้ตัวเองได้ด้วยตัวเองอยู่เสมอรู้เท่าทันความคิดหรืออารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุดหรือไปต่อกับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่เมื่อมีภาวะรู้ตัวไวก็จะสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการกล่อมเกลาให้เกิดภาวะรู้ตัว หรือกิจกรรมที่ฝึกฝนสติต้องไม่ฝืดฝืนกับธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย ได้แก่ การมีสัมมาสมาธิสามารถตั้งใจมั่น จดจ่อ เพื่อกำกับให้การเรียนรู้ของตน หรือการทำภาระงานของตนให้สำเร็จลุล่วงได้ทั้งมีความอดทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (รู้ตัว) และผู้อื่น ได้อย่างว่องไวละกลับมาอยู่กับการใคร่ครวญตัวเองได้เสมอๆ การเห็นคุณค่าในตัวเองคนอื่นและสิ่งต่างๆเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย ซึ่งการเห็นคุณค่าก็จะนำมาสู่การเคารพสิ่งนั้น การอยู่ด้วยกันอย่างภารดรภาพยอมรับในความแตกต่างเคารพและให้เกียรติกันการมีวินัยมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมอยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆนอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่ การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล
ความคืบหน้าในการเรียนรู้